เปลือกโลกบนเนื้อโลก ก็คล้ายๆ ขอนไม้ลอยบนแป้งเปียกหนืดๆ

จากการศึกษาความเร็วที่เปลี่ยนไปของคลื่นแผ่นดินไหวของ โลก ซึ่งสื่อถึง คุณลักษณะทางกายภาพภายในโลก นักธรณีวิทยาพบว่าไส้ในของโลกประกอบไปด้วยชั้น 1) ธรณีภาค (lithosphere) 2) ฐานธรณีภาค (asthenosphere) 3) มัชฌิมาภาค (mesosphere) 4) แก่นโลกชั้นนอก (outer core) และ 5) แก่นโลกชั้นใน (inner core) เพิ่มเติม : เขาใช้อะไรแบ่งโลกเป็นชั้นๆ (เปลือกโลก . เนื้อโลก . แก่นโลก) (นักธรณีวิทยา) ว่ากันว่า จากการสู้กันของ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (geothermal gradient) และ ความดันปิดล้อม (confining pressure) ตลอดความลึกของโลก ทำให้แก่นโลกชั้นในนั้นเป็นของแข็ง (ความดันชนะ) ในขณะที่แก่นโลกชั้นนอกนั้นเป็นของเหลว (อุณหภูมิชนะเลิศ) ส่วนชั้นมัชฌิมาภาคหรือชั้นเนื้อโลกตอนล่าง ก็เป็นของแข็ง (ความดันชนะ) แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นในเรื่องนี้ 🙂 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทำให้วัสดุขยาย มีความหนาแน่นน้อยลง เบาบางลง และเร็วขึ้น วัสดุเทไปในทางของเหลว ส่วน ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้วัสดุถูกบีบอัดให้หดเล็กลง ความหนาแน่นมากขึ้น หนักขึ้นและเข้มข้นขึ้น วัสดุเทไปในทางของแข็ง ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ชั้นธรณีภาค หรือกะถัวๆ ก็คือเปลือกโลกนั้น … อ่านเพิ่มเติม เปลือกโลกบนเนื้อโลก ก็คล้ายๆ ขอนไม้ลอยบนแป้งเปียกหนืดๆ