สำรวจ

เขาชามคว่ำ ชามหงาย – ธรณีวิทยาพาเที่ยว EP. 18


 ภูเวียง

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ต. ในเมือง อ. เวียงเก่า จ. ขอนแก่น https://goo.gl/maps/TJEMQnkUaw3uAhKx7

ภูเก้า

ภูเก้า ต. โคกม่วง อ. โนนสัง จ. หนองบัวลำภู https://goo.gl/maps/6Zytgfquvwd6aHZK9

เขาวง กาฬสินธ์

วนอุทยานภูแฝก ต. ภูแล่นช้าง อ. นาคู จ. กาฬสินธุ์ https://goo.gl/maps/MgaUbxsvbUCCJHLr7

ภูวง ต. คำบ่อ อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร https://goo.gl/maps/HMpj6NKLLJ8a88hb9

พื้นที่ภายในภูเขาล้อมรอบประมาณ50,000 ไร่

กุดบาก ต. กุดบาก อ. กุดบาก จ. สกลนคร https://goo.gl/maps/Wu4fkmtmzLHd3B8w6

เพิ่มเติม : การคดโค้งโก่งงอของหิน

ชั้นหินคดโค้งทรงกลม

นอกจากชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำและชั้นหินคดโค้งปะทุนหงายที่เกิดจากแรงเค้นเข้ามากระทำ 2 แนวในทิศทางตรงกันข้ามกัน ในบางกรณีหากชั้นหินถูกแรงเค้นกระทำทุกทิศทาง ชั้นหินสามารถเปลี่ยนรูปเป็นทรงกลมได้ เรียกว่า ชั้นหินคดโค้งทรงกลม (circular fold) ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่มากระดับภูมิภาค ซึ่งแบ่งย่อยชั้นหินคดโค้งทรงกลมได้ 2 รูปแบบ

แบบจำลองแสดงชั้นหินคดโค้งแบบโดมและแอ่ง 

4) โดม (dome) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่ง ทำให้แผ่นดินโค้งลง ชั้นหินคดโค้งเอียงเทเข้าหาใจกลางทุกทิศทา งหินที่มีอายุแก่อยู่ด้านในของโดม และหินที่มีอายุอ่อนอยู่ด้านนอกของโดม

5) แอ่งตะกอน (basin) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่ง ทำให้แผ่นดินโค้งขึ้น แขนการคดโค้งเอียงเทเข้าหาใจกลางทุกทิศทาง หินที่มีอายุอ่อนอยู่ด้านในของแอ่ง และหินที่มีอายุแก่อยู่ด้านนอกของแอ่ง

ภาพถ่ายจากมุมสูงแสดงชั้นหินคดโค้งแบบ (ซ้าย) โดม และ (ขวา) แอ่ง 

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid023Ecjp4xSKxTnMSMmBY76QbPkRD8mbob3EC4BSkk2Mtawi9LfbsMb3ydRr1bRZfR4l&id=481280702438769

ในมิติธรณีวิทยา นอกเหนือจาก ตะกอนทางน้ำ (fluvial sediment) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ที่สะสมตัวอยู่ตามลำห้วยหรือธารน้ำต่างๆ หินที่โผล่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานเป็นหินที่เกิดขึ้นในช่วง มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบกและกลายเป็นชุดของ หินตะกอน (sedimentary rock) ที่เรียกกันในทางธรณีวิทยาว่า กลุ่มหินโคราช (Khorat Group) ซึ่งถ้าแบ่งย่อยกลุ่มหินโคราชอย่างเต็มรูปแบบ จะประกอบไปด้วย 9 หมวดหิน (formation) ไล่จากแก่ไปอ่อน ได้แก่ หมวดหิน 1) ห้วยหินลาด 2) น้ำพอง 3) ภูกระดึง 4) พระวิหาร 5) เสาขัว 6) ภูพาน 7) โคกกรวด 8) มหาสารคาม และ 9) ภูทอก ตามลำดับ ซึ่งแทบทุกหมวดหิน ส่วนใหญ่จะเป็น หินทราย (sandstone) หินทรายแป้ง (siltstone) และ หินดินดาน (shale) ยกเว้น 8) หมวดหินมหาสารคาม(Maha Sarakham Formaion) ที่ประกอบไปด้วย หินดินดาน และ ชั้นเกลือหิน (rock salt)

ตัวอย่าง หินทราย

ในเวลาต่อมา กระบวนการทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) บีบอัดและยกตัวกลุ่มหินโคราชเหล่านี้ จนกลายเป็นเหมือนขอบแอ่งกระทะ ตลอดแนวตะวันตกและใต้ของที่ราบสูงภาคอีสาน ขอบแอ่งกระทะทางตอนใต้ คือ เทือกเขาพนมดงรัก ส่วนขอบแอ่งกระทะทางตะวันตก คือ เทือกเขาดงพยาเย็น โดยในแง่ของ การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) หินบนเทือกเขาดงพยาเย็น รวมทั้งเขาทุกลูกที่ไล่ยาวมาทางทิศตะวันออก ในเขต จ. ชัยภูมิ และ จ. นครราชสีมา จะมีการเอียงเทของชั้นหินไปในทางทิศตะวันออก ดังนั้นหากไล่ลำดับชั้นหินตะกอนจากฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ ชั้นตะกอนอายุแก่กว่าจะอยู่ทางตะวันตก และไล่อายุอ่อนขึ้นไปทางตะวันออก

(บน) ภูมิประเทศ 3 มิติ พื้นที่รอยต่อขอบที่ราบสูงโคราช แสดงการกระจายตัวของเขาสำคัญต่างๆ ซึ่งมีโอกาสเป็นแหล่งหินในการนำไปก่อสร้างปราสาทหินพนมวันและปราสาทหินพิมาย (ล่าง) ภาพตัดขวางการวางตัวของชั้นหินในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ไล่จากซ้าย – เทือกขายเที่ยง ไปจนถึง ขวา – ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล (ที่มา : www.khoratcuesta.net)

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: