การหาอายุด้วยวิธีออบซิเดียน

ออบซิเดียน (obsidian) คือ หินอัคนีภูเขาไฟ (volanic igneous rock) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของแมกมาไรโอไรท์ที่มีปริมาณแร่ซิลิก้าสูง โดยทั่วไปออบซฺเดียนมีหลายสีตั้งแต่ใสเหมือนแก้ว สีเทา สีน้ำตาล สีน้ำตาลออกแดง จนกระทั่งสีดำเหมือนถ่านหิน ความแตกต่างของสีเกิดจากสารประกอบในเนื้อแก้วและอัตราการเย็นตัวจากแมกมาจนกลายเป็นหินแข็ง ในอดีตมนุษย์นิยมใช้หินออบซิเดียนเป็นวัสดุหลักในการทำเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันและเครื่องประดับ ตลอดจนเอามาทำเป็นศิลปวัตถุ เนื่องจากมีความแข็งแรงและคงทน ทำให้ในช่วงปี ค.ศ. 1948 นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหาวิธีในการหาอายุออบซิเดียน เพื่อกำหนดอายุแหล่งโบราณคดีที่พบตัวอย่างเครื่องมือหรือเครื่องประดับที่ทำจากออบซิเดียน และในปัจจุบันยังสามารถใช้กับการหาอายุธารน้ำแข็งหรือเหตุการณ์ทางภูเขาไฟได้ด้วย พ.ศ. 2500 นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Friedman I. และ Smith R.L. สนใจศึกษาออบซิเดียน ทั้งนี้เพราะรู้มาว่าออบซิเดียนเป็นหินที่สามารุดูดซึมน้ำเข้าไปตามผิวได้ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการไฮเดรชัน (hydration) และแสดงผิวหน้าที่มีลักษณะเฉพาะเป็นชั้นๆ เรียกว่า ชั้น … อ่านเพิ่มเติม การหาอายุด้วยวิธีออบซิเดียน