บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง

เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น สามารถถูกพัดพาต่อไปได้หรือตกสะสมตัวที่แตกต่างกัน การตกตะกอนโดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง เช่น แอ่ง ทะเลสาบ ร่องเขา เป็นต้น ซึ่งสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวของตะกอนนั้นมีหลายรูปแบบและในแต่ละสภาพแวดล้อมดังกล่าว ให้ตะกอนที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ทั้งขนาด ความกลม ความมนและการคัดขนาด การตกตะกอนบนบก 1) ตะกอนน้ำพา (alluvial) เป็นการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการพัดพาตะกอนจากร่องน้ำในหุบเขาสู่ที่ราบ ทำให้น้ำซึ่งเคยไห … อ่านเพิ่มเติม บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง