อุกกาบาต กับการโหม่งโลก

ดาวตก (meteor) คือ เทหวัตถุขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ ซึ่งเมื่อเทหวัตถุเหล่านี้โคจรเข้าใกล้โลก อิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เทหวัตถุเหล่านั้นตกสู่พื้นโลก แต่ในระหว่างที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าคล้ายกับดาวหางที่กำลังพุ่งชนโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักตกไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากถูกเสียดสีเผาไหม้จนหมดในอากาศ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ ตันกัสคา (Tunguska) เขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2451 เกิดการระเบิดของอุกกาบาตก่อนตกถึงพื้นโลก แรงระเบิดกินพื้นที่กว่า 2,200 ตารางกิโลเมตร ทำให้ต้นไม้ 80 ล้านต้นล้มตายจนหมด แต่กรณีเทหวัตถุมีขนาดใหญ่ก็อาจตกถึงพื้นโลกได้เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานของอุกกาบาตหลายแห่งบนโลก เช่น หลุมอุกกาบาตริโอคัวโต (Rio Cuarto) ในอาเจนตินา หลุมอุกกาบาตเฮนเบอรี่ (Henbury) ในออสเตรเลีย ฯลฯ พัฒนาการของหลุมอุกกาบาตเริ่มต้นจากเมื่ออุกกาบาตตกกระทบพื้นผิวโลก ทั้งไอระเหย เศษหินเกิดการหลอมละลาย และกระเซ็นกระจายไปทั่วโดยรอบหลุม ในพื้นที่ซึ่งมีการตกกระทบจะมีความดันสูงที่สุดขั้วอย่างทัน … อ่านเพิ่มเติม อุกกาบาต กับการโหม่งโลก