Tag: แผ่นดินไหวบรรพกาล

สำรวจ

ตะพักทะเล : พยานปากเอก จับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

เกริ่นกันก่อน ตะพักแม่น้ำ เกริ่นก่อนจะเข้าเรื่อง แผ่นดินไหว สืบเนื่องจากบทความ : ชนิดและภูมิลักษณ์ของธารน้ำ ผลจากการกวัดแกว่งของ ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream) หินแข็งที่เคยอยู่ริมธารน้ำจะถูกกัดกร่อนและเกิดการทับถมตะกอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปทั่วทุกพื้นที่ที่ธารน้ำเคยตวัดไปถึง ทำให้เกิดภูมิประเทศเป็นที่ราบครอบคลุมพื้นที่กว้างขนาบไปตามธารน้ำที่เรียกกันติดปากว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ซึ่งหากมองในภาพตัดขวางของร่องน้ำ จะพบว่าร่องน้ำโค้งตวัดนี้ ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหวบรรพกาล : การสืบสันดานแผ่นดินไหว

ทำไมต้องศึกษาแผ่นดินไหวบรรพกาล ขอออกตัวตั้งแต่ต้นเรื่องก่อนเลยครับว่า ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะหยาบคายใส่ผู้อ่านแต่อย่างใด แต่ก็นั่งนึกอยู่นาน สุดท้ายคำว่า “สันดาน” น่าจะสื่อถึงสิ่งที่เราตามหาในบทความนี้ได้ดีที่สุด เพราะเรื่องที่ผู้เขียนกำลังจะเล่า เป็นเรื่องของการสืบหานิสัยลึกๆ ดิบๆ ของแผ่นดินไหว ที่บางที…ชั่วชีวิตของพวกเรานี้ อาจไม่มีโอกาสได้เห็น จากข้อมูลสถิติที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าโดยธรรมชาติของการเกิด แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดบ่อยกว่าแผ่นดินไหวใหญ่อยู่หลายเท่า เช่นเขตมุดตัวของเปลือกโลกแถบสุมาตรา-อันดามัน ที่ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0-5.0 ...
สำรวจ

สึนามิกำพร้า – ป่าผี

สึนามิกำพร้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในแต่ละครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ประเทศต่างๆ จะพยายามบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา นำมาถอดบทเรียนในการเตรียมตัวรับมือและศึกษาพฤติกรรมของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการนำบันทึกมาวิเคราะห์คาบอุบัติซ้ำของการเกิด หรือแม้กระทั่งนำมาประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความใส่ใจในการจดบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวรวมไปถึงเหตุการณ์สึนามิอย่างดีเยี่ยม ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย เป็นหรือตาย ? จากนิยาม “รอยเลื่อนมีพลัง”

ในการประเมินระดับอันตรายแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis) (Kramer, 1996) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบสิ่งปลูกสร้างนั้น ตัวแปรสำคัญที่ควรพิจารณาให้ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด คือ แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อพื้นที่ศึกษา ทั้งในด้านรูปร่าง (ขนาดและทิศทางการวางตัว) และนิสัยใจคอ (พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว) ทั้งนี้เนื่องจากหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ครอบคลุม ผลการประเมินระดับแรงสั่นสะเทือนอาจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การออกแบบจากผลการประเมินที่ได้ยังคงไม่ปลอดภัยจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมากเกินไป ...
เรียนรู้

ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, ...
เรียนรู้

ฉันจะเป็น “รอยเลื่อน” หรือ “รอยเลื่อนมีพลัง” มันก็ขึ้นอยู่กับความกลัวของพวกมนุษย์

ปกติเวลาพูดถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว พวกเรามักจะได้ยินคำว่ารอยเลื่อนบ้าง หรือไม่ก็รอยเลื่อนมีพลังบ้าง ซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนจะเหมือนกันแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน คำว่า รอยเลื่อน (fault) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เป็นแค่ 1 ใน 3 รูปแบบหลักๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งหมายถึงแนวรอยแตกของหินที่มีการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในอดีต และส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ไปในทางอธิบายความเหลื่อมหรือไม่ลงรอยกันของหินที่พบในแต่ละพื้นที่ จนบางครั้งนักธรณีวิทยาก็ใช่คำว่า ...
สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล ...