Tag: แผ่นดินไหว

สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล ...
สำรวจ

การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า ...
วิจัย

แผ่นดินไหวเล็กและใหญ่ เกิดเป็นสัดส่วนกัน-ถ้าเราดูออก ก็รู้จักนิสัยของเขา

จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่บันทึกเก็บไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน นักแผ่นดินไหวหลายคนเคยเอามานั่งดู และพบว่าจำนวนการเกิดแผ่นดินไหวโดยภาพรวมในแต่ละช่วงเวลาและในพื้นที่ใดๆ “แผ่นดินไหวเล็กจะมีอัตราการเกิดบ่อยกว่าแผ่นดินไหวใหญ่” เช่น แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นทั่วโลกประมาณ 1,000,000 เหตุกาณ์/ปี ในขณะที่แผ่นดินไหวขนาด 5.0 เกิดโดยเฉลี่ย 2,000 เหตุการณ์/ปี ซึ่งต่อมา Ishimoto และ ...
สำรวจ

ฟุกุชิม่าฟิฟตี้ – we’re not afraid to die

11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 นอกชายฝั่งแปซิฟิกทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทั้งแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิทำให้พื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและชายฝั่งแปซิฟิกของญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดทั้งแนว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16,000 คน บาดเจ็บ 6,000 คน และสูญหายอีกกว่า 4,500 คน นอกจากนี้ ...
สำรวจ

ไทย-สึนามิ เคยพบหน้ากันมาแล้วหลายครั้ง – รู้ได้ยังไง ?

ธรรมชาติของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดที่มีสึนามิมาเอี่ยวด้วย) ส่วนใหญ่จะมี คาบอุบัติซ้ำ (return period) ยาวนานเป็นหลักร้อยๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรอินเดียซึ่งแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวไม่ได้ดุร้ายเหมือนกับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตั้งแต่เราเกิดมา ก็เพิ่งจะเคยพบเคยเห็นสึนามิแค่ครั้งเดียวในปี พ.ศ. 2547 แต่การเห็นครั้งแรกแค่ครั้งเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีและอนาคตจะไม่เกิดขึ้น บางทีก่อนหน้าปี พ.ศ. 2547 อาจจะเคยเกิดสึนามิมาแล้วหลายครั้ง ...
เรียนรู้

ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี

ถ้าจะให้ไล่เรียงลีลาของโลกที่สามารถหอบมวลน้ำในทะเลซัดขึ้นมาบนฝั่งแบบสูงท่วมหัวหรือเป็นภัยพิบัติกับเราได้ จริงๆ แล้วมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 1) คลื่นเซซแผ่นดินไหว (seismic seiches) 2) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) รวมทั้ง 3) สึนามิ (tsunami) ซึ่งคลื่นน้ำแต่ละแบบก็มีสาเหตุและพฤติกรรมเฉพาะตัวที่ส่งผลกระทบกับเราแตกต่างกัน คำว่า ...
เรียนรู้

ยังคงมีความงดงาม แม้ในยามแผ่นดินไหว

“ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” ผมคิดว่าประโยคสั้นๆ ประโยคนี้ น่าจะสาสมแก่ใจดีกับการพิพากษา “แผ่นดินไหว” เพราะตลอดระยะเวลาที่เฝ้าขุดคุ้ยค้นหาข้อมูลความเหี้ยม ทั้งจากหนังสือบ้าง อินเตอร์เน็ตบ้าง หลายครั้งก็ยังพบ “ความงาม” ที่แทรกอยู่ในบางบรรทัดของเรื่องเล่าแผ่นดินไหวเสมอ อย่ากระนั้นเลย นอกจากบทความอื่นๆ ที่ผมพยายามตีแผ่ความโหดร้ายและนิสัยของแผ่นดินไหวในเชิงวิทยาศาสตร์ บทความนี้ผมจึงอยากจะเปลี่ยนบรรยากาศมาเล่าเรื่องราวเบาๆ ดีๆ ที่พอจะมีแอบซ่อนอยู่บ้าง ...
เรียนรู้

ก่อนจะเดทกับแผ่นดินไหว ควรแต่งเนื้อแต่งตัวยังไงดี

ว่ากันจริงๆ ก็เกือบจะทุกพื้นที่บนโลกที่มีโอกาสได้ออกเดทกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่ว่านึกอยากจะมาก็จะมา เพราะแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักจะมาตามนัด อย่างที่เราเรียกกันว่า คาบอุบัติซ้ำ (return period) ซึ่งพวกเราก็พอจะคาดจะเดากันได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ยังไม่ได้เทพถึงขั้นบอกได้ว่าแผ่นดินไหวจะมาวันพรุ่งนี้ช่วงบ่ายๆ ดังนั้นการแต่งเนื้อแต่งตัวเพื่อรอรับนัดแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงวันนั้น วางแผนและทำข้อตกลงร่วมกัน ในระหว่างที่แผ่นดินไหวเค้ายังเดินทางมาไม่ถึง สิ่งที่พวกเราควรทำเป็นอันดับแรกคือควรมีการพูดคุย ซักซ้อมและจ่ายงานกัน ...
เรียนรู้

ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า บันทึกแผ่นดินไหว (earthqauke record) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บันทึกที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) นั้นมีประโยชน์มหาศาลในการนำไปศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวหรือประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะฐานข้อมูลแผ่นดินไหวนั้นเก็บรายละเอียดแทบทุกอย่าง ทั้งตำแหน่ง เวลาและขนาดแผ่นดินไหว ออกมาทั้งหมดเป็นตัวเลขแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการนำสารข้อมูลแผ่นดินไหวดังกล่าวไปใช้ ...
เรียนรู้

ทำความรู้จักระบบเตือนภัยสึนามิ ยามเฝ้าฝั่งที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้

ก็อย่างที่เรารู้กันดีว่าสึนามิเป็นภัยพิบัติที่ถ้าได้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ บทสรุปความเสียหายก็จะเป็นข่าวใหญ่เมื่อนั้น เพราะผลกระทบของสึนามิมักกินวงกว้างแบบข้ามฝั่งข้ามประเทศ และด้วยความที่ว่าถ้าสึนามิอยากจะมา เขาจะต้องได้มา ไม่มีทางยื้อ ยับยั้งหรือแคลเซิลได้เหมือนกับนัดเพื่อนนัดแฟน ดังนั้นการเตรียมแต่งตัวตั้งรับตั้งแต่เนิ่นๆ จึงดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการลดความสูญเสียของมนุษย์ ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) เป็นระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเอาไว้ตรวจจับและเตือนภัยสึนามิก่อนที่จะซัดเข้าฝั่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมแรงกันของทั้งเครื่องมือตรวจวัดที่จะต้องเข้าไปอยู่ประชิดแหล่งกำเนิดสึนามิและระบบการส่งสารแบบความเร็วสูง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนฝั่งไหวตัวทันกันตั้งแต่สึนามิเริ่มเกิดขึ้นมา ให้มีเวลาพอที่จะเตรียมเนื้อเตรียมตัวอพยพ ...
เรียนรู้

ทรงตัวกันยังไง ถ้าแผ่นดินไหวมา

ในบรรดาภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิหรือดินถล่ม ฯลฯ ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติที่เข้าประชิดตัวพวกเราได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหว คนธรรมดาอย่างพวกเราจะออกอาการรนรานให้เห็น ยิ่งถ้ามีหลายคนรวมกัน ความรนรานก็อาจจะรวมตัวเป็นความโกลาหลครั้งใหญ่ เพราะอย่างนี้พวกเราจึงควรต้องมีการเตรียมพร้อมและทำข้อตกลงร่วมกันในวงคนหลายคนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหวขึ้นมาจริงๆ ใครจะไปทางไหน และใครมีหน้าที่ต้องทำอะไร บทความนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการถูกแผ่นดินไหวกระทำ ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นหลักปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน อันที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรที่สลับซับซ้อน และผมก็เชื่อว่าพวกเราแทบทุกคนก็คงรู้กันดีอยู่แล้ว ผมจึงแค่อยากสะกิดกันลืม เพื่อให้พวกเราสามารถตัดสินใจได้เฉียบคมและแม่นขึ้น ...
สำรวจ

รอยเลื่อนสะกาย – ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า ...
สำรวจ

นิทาน . ตำนาน . ความเชื่อ . แผ่นดินไหว

ในอดีต แนวคิดแบบเหตุและผลอย่างวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก คนโบราณจึงมักจะดำเนินชีวิตตามความเชื่อและความศรัทธาเป็นหลัก ปรากฏการณ์ธรรมชาติถูกผูกติดกับปาฏิหาริย์และอำนาจลึกลับ ผี เทพเจ้าและสรรพสัตว์ที่ดูน่าเกรงขามถูกบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ข้อมูลจากเอกสารหลายๆ ฉบับ ยืนยันว่าในอดีต คนแทบทุกมุมโลกเคยสัมผัสกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น จินตนาการและอารมณ์จึงถูกผสม นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่อง หลักคิดของชาวยุโรป ในอดีต ...
วิจัย

ความเงียบงันบนรอยเลื่อนสะกาย ประเทศพม่า ซึ่งในทางแผ่นดินไหวถือว่าเป็นสัญญาณไม่ค่อยดี

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 2 ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวและความสมบูรณ์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อรู้จักบันทึกแผ่นดินไหวรูปแบบต่างๆ ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวและแหล่งสืบค้นข้อมูลแผ่นดินไหว เพื่อเข้าใจข้อดี-ข้อจำกัดของฐานข้อมูลแผ่นดินไหว และตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุง เพื่อทราบกระบวนการปรับปรุงฐานข้อมูลแผ่นดินไหว เนื้อหา บันทึกแผ่นดินไหว (Earthquake Record) การปรับเทียบมาตราขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude Conversion) การจัดกลุ่มแผ่นดินไหว (Earthquake Clustering) แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (Man-made ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 1 แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในอาเซียน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจสภาพแวดล้อมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจำแนกแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทราบพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน เนื้อหา เขตมุดตัวของเปลือกโลก (Subduction Zone) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ภาคเหนือของประเทศไทย (Northern Thailand) ภาคตะวันตกของประเทศไทย (Western Thailand) ภาคใต้ของประเทศไทย ...
แผ่นดินไหว

บทที่ 7 การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวด้วยวิธีกำหนดค่า เพื่อเข้าใจวิธีการประเมินพิบัติภัยแผ่นดินไหวด้วยวิธีความน่าจะเป็น เพื่อทราบสถานการณ์พิบัติภัยแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน เนื้อหา วิธีกำหนดค่า (Deterministic Method) วิธีความน่าจะเป็น (Probabilistic Method) ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย (Seismic Hazard in Thailand) ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศลาว (Seismic ...
แผ่นดินไหว

บทที่ 6 ระเบียบวิธีพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน (Region–Time–Length Algorithm)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจนัยสำคัญของภาวะเงียบสงบและภาวะกระตุ้นแผ่นดินไหว เพื่อทราบพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนจากการวิเคราะห์คะแนน RTL เนื้อหา ระเบียบวิธีพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน (RTL Algorithm) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ภาคเหนือของประเทศไทย (Northern Thailand) ภาคตะวันตกของประเทศไทย ...
แผ่นดินไหว

บทที่ 5 การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (Seismicity Rate Change)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจธรรมชาติการเกิดแผ่นดินไหวและนัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อทราบพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตในภูมิภาคอาเซียน จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (Seismicity Rate Change) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) แนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing ...
แผ่นดินไหว

บทที่ 4 ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน (Tectonic Stress)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจธรรมชาติการเกิดแผ่นดินไหวในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และขนาดแผ่นดินไหว เพื่อเข้าใจการประยุกต์ใช้ค่า b ในการศึกษาแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงค่า b (Variation of b Value) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) แนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Island ...