Tag: ภัยพิบัติ

สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ...
เรียนรู้

อุกกาบาต กับการโหม่งโลก

ดาวตก (meteor) คือ เทหวัตถุขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ ซึ่งเมื่อเทหวัตถุเหล่านี้โคจรเข้าใกล้โลก อิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เทหวัตถุเหล่านั้นตกสู่พื้นโลก แต่ในระหว่างที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าคล้ายกับดาวหางที่กำลังพุ่งชนโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักตกไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากถูกเสียดสีเผาไหม้จนหมดในอากาศ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ ตันกัสคา (Tunguska) เขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ...
วิจัย

สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์

หากพูดถึงกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะบทสนทนาที่ว่าด้วยปริมาณ ประโยคจะสมบูรณ์จบลงได้ก็ควรจะต้องมีหน่วยชั่ง-ตวง-วัดเข้ามากำกับ “ป้าครับ !!! ขอนม 1 ขวด แก้ว 1 ใบ แล้วก็เพื่อนข้างกายซัก 1 คน” ขวด–ใบ–คน คือ หน่วยวัดสำคัญที่จะทำให้เครื่องรับและเครื่องส่งประมวลผลการสื่อสารไปในทิศทางเดียว เรื่องของแผ่นดินไหวก็เช่นกัน ...
เรียนรู้

ไฟป่า

เรียบเรียงโดย : ภวัต วัฒนจารีกูล และ สันติ ภัยหลบลี้ ไฟป่า (wildfire) ตามคำจำกัดความของ Brown และ Davis (1973) คือ ไฟที่ปราศจากการควบคุม ลุกลามอย่างอิสระจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเศษซากต้นไม้และวัชพืชที่แห้งตาย ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือของไทย : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยง

นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน ...
สำรวจ

10 การปะทุของภูเขาไฟ ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในโลก

เรียบเรียงโดย : ธนภูมิ โฆษิตานนท์ และ สันติ ภัยหลบลี้  ภูเขาไฟปะทุ (volcanic eruption) ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ภัยพิบัติทางธรณีวิทยา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งด้วย รูปแบบของการประทุภูเขาไฟที่แตกต่างกันทำให้ระดับความรุนแรงของภูเขาไฟนั้นต่างกันไปด้วย โดยในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุและมีการบันทึกไว้ในอดีต ...
สำรวจ

10 เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้มากมาย ทั้งจากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว ที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวแทบจะทุกเหตุการณ์ รวมไปถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่แสดงว่าในอดีตนั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก่อน และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญต่างๆ ที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ พบว่ามีหลากหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งบทความนี้ ได้รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว 10 เหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์มากที่สุด 1) แผ่นดินไหวขนาด 8.0 มณฑลส่านซี ประเทศจีน ...
เรียนรู้

ขนาดแผ่นดินไหว : ความหลากหลาย และ การปรับเทียบ

ขนาดแผ่นดินไหว (earthquake magnitude) คือ ระดับพลังงานที่โลกปลดปล่อยออกมาจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในรูปของแรงสั่นสะเทือน ดังนั้นในแต่ละเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะมีขนาดแผ่นดินไหว หรือระดับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเพียงระดับเดียวเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากแรงสั่นสะเทือนที่มีอยู่หลายระดับ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเหตุการณ์นั้นๆ ว่ากันว่า คนเริ่มระแคะระคายว่าแผ่นดินไหวนั้นมี “ขนาด” ก็ในปี พ.ศ. 2474 โดยจากการสังเกตของคุณคิโยโอะ วาดาติ (Wadati ...
เรียนรู้

ก่อนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องเคลียร์ประเด็นอะไรเรื่องแผ่นดินไหวบ้าง

ในการที่จะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ทิ้งไว้บนโลก ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง เขื่อนขนาดใหญ่ รวมทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ใช่ว่าคิดอยากจะสร้าง มีเงินแล้วก็สร้างกันได้เลยตามอำเภอใจ เพราะด้วยความที่ตัวใหญ่ และมีโอกาสให้คุณให้โทษได้ตลอดเวลาในวงกว้าง ดังนั้นก่อนที่จะมีการก่อสร้างอะไรจำพวกนี้ เจ้าของงานหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียด หากเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ซึ่งในกรณีของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปก็จะครอบคลุมในหลายๆ มิติ ทั้งทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรม ...
เรียนรู้

บันทึกแผ่นดินไหว : ไดอารี่ที่จดเอาไว้คาดการณ์อนาคต

ในการศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว ข้อมูลที่จำเป็นและเป็นตัวบ่งชี้นิสัยของแผ่นดินไหวได้ดีที่สุด คือ บันทึกแผ่นดินไหว (earthquake record) ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจากแหล่งที่ได้มาของบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกบันทึกแผ่นดินไหวตามช่วงเวลาและความแม่นยำของการบันทึกข้อมูลได้ 3 ประเภท คือ 1) บันทึกทางธรณีวิทยา (geological record) หรือ ข้อมูลธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ...
สำรวจ

มัดรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ไทยเคยโดน

 ประสบการณ์การด้านแผ่นดินไหวในบ้านเรา จริงๆ แล้วก็มีให้เห็นเป็นระยะๆ หลายคนเคยเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ แต่คนที่จะได้รับประสบการณ์ตรงของแรงสั่นสะเทือนนั้นคงนับหัวได้ ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงอาจจะคิดว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ก่อนที่ความรู้สึกแบบนี้จะฝังรากหยั่งลึก แนะนำให้ลองดูแผนที่ด้านล่างกันก่อน ข้อมูลที่แสดงในแผนที่เป็นสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดในช่วงปี พ.ศ. 2507-2554 ซึ่งคัดลอกมาจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวของหน่วยงาน Incorporated Research Institutions for Seismology ...
เรียนรู้

ภูมิประเทศบ่งชี้ “รอยเลื่อน”

จากรูปด้านล่างซึ่งเป็นภาพพื้นผิวโลกของจริงที่ถ่ายได้จากดาวเทียม จะสังเกตเห็นว่ามีแนวเส้นประหลาดๆ มากมายที่หลายคนยังไม่รู้จักทั้งตรงและโค้ง ซึ่งในทางธรณีวิทยาปัจจุบันสรุปตรงกันแล้วว่า รอยหรือแนวที่เห็นโดยส่วนใหญ่ เป็นผลมาจากการขัดสีกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการยก-ยุบ ผลุบ-โผล่ ของแผ่นดินผสมปนเปกันไป ทำให้หนังหน้าของโลกดูเหมือนมีรอยแผลเป็นบากอยู่อย่างที่เห็น และที่สำคัญรอยบากพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่สำคัญของโลก หรือถ้าซูมเข้าหาโลกอีกนิด เปลี่ยนภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นภาพหรือข้อมูล โทรสัมผัส (remote sensing) ประเภทอื่นๆ จากรูปด้านล่าง เป็นรูปที่สร้างมาจาก ...
เรียนรู้

ทอร์นาโด (Tornado) : เล็ก เรียว แต่รุนแรง

ทอร์นาโด (tornado) คือ พายุที่มีลักษณะคล้ายกับงวงช้างสีดำ ห้อยลงมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 กิโลเมตร แต่มีการหมุนวนของลมด้วยความเร็วสูง บางครั้งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งภายในมวลพายุประกอบด้วยไอน้ำและฝุ่นละออง ตลอดจนวัตถุต่างๆ ที่ถูกลมพัดลอยเข้ามาในตัวพายุ เนื่องจากเมื่อพายุเคลื่อนไปพื้นที่ใด ฐานของพายุจะกวาดทุกอย่างบนพื้นขึ้นไปด้วย ทอร์นาโดเกิดจากมวลอากาศที่เย็นและหนักกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้มวลของอากาศที่อบอุ่นและเบากว่า ...
วิจัย

การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหวในภาคตะวันตกของประเทศไทย : นัยสำคัญถึงแผ่นดินไหวในอนาคต

ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ประเทศไทยและเพื่อนบ้านตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) ซึ่งในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย (Indo-Australia Plate) กำลังวิ่งชนและมุดลงไปใต้แผ่นยูเรเซียบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ผลจากการชนกันทำให้เกิดแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน บีบอัดแผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นและยกตัวสูงขึ้นกลายเป็น แนวเทือกเขาอาระกัน (Arakan-Yoma thrust range) ทางฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า นอกจากนี้แรงเค้นดังกล่าวยังส่งผลเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนรอยต่อ ระหว่างภาคตะวันตกของประเทศไทย-ภาคใต้ของประเทศพม่า ผลที่ได้คือเกิดกลุ่มรอยเลื่อนมากมายในแถบนั้น ...
เรียนรู้

แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว : หน้าตา นิสัย และหน่วยวัด

ถ้าจะเอาแบบกำปั้นทุบดิน ตอบแบบตีหน้าซื่อ แผ่นดินไหว (earthquake หรือ quake หรือ tremor) ก็คงหมายถึง แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ดังนั้นอะไรก็ตามที่พอจะทำให้พื้นดินที่เราย่ำ เกิดอาการสั่นสะท้าน ก็เหมารวมกันไปได้เลยว่าเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว ทั้งการตอกเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสร้างบ้าน รถวิ่งบนถนน หรือแม้กระทั่งลูกมะพร้าวหล่นกระแทกพื้น ฯลฯ แต่ก็รู้ๆ ...
เรียนรู้

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

นึกภาพตามนะครับ ถ้าเราจะวัดความเร็วของรถไฟโดยจับคนวัดไปนั่งอยู่บนรถไฟ ถามว่าผลจะออกมาแบบไหน คำตอบคือคนวัดคงนั่งงง วัดอะไรไม่ได้เลย เพราะทั้งรถทั้งคนก็วิ่งไปพร้อมๆ กันด้วยความเร็วของรถไฟ เว้นเสียแต่คนวัดจะลงจากรถไฟมานั่งนิ่งๆ มองรถไฟวิ่งผ่านหน้าไป ก็คงพอจะเดาได้ว่ารถไฟกำลังวิ่งฉึกฉักหวานเย็น หรือวิ่งฟิ้ววววแบบไม่เห็นฝุ่น ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกโดยที่เราไม่สั่นไปพร้อมกับโลก เราคงต้องลอยนิ่งๆ เหนือพื้นโลกแล้วค่อยวัด จึงจะได้ระดับการสั่นไหวของโลกที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าจะต้องลงทุนกันขนาดนั้น ...
เรียนรู้

การวิเคราะห์และคัดกรองแผ่นดินไหวที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์

นอกจากแผ่นดินไหวทั่วไปที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวบางส่วนที่บันทึกไว้ได้ในปัจจุบันก็เป็น แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (man-made earthquake) เช่น การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ ซึ่งหากมีข้อมูลแผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในฐานข้อมูลแผ่นดินไหว มักจะทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานมีความคลาดเคลื่อน เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตจาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งนักแผ่นดินไหวหลายกลุ่ม (Zuniga และ Wyss, 1995; Toda ...
เรียนรู้

ทรายพุและโคลนภูเขาไฟ

ทรายพุ (Liquefaction) ทรายพุ (liquefaction) หรือ ทรายเดือด (sand boil) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจจะดูแปลกตาสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในเชิงของภัยพิบัติ ทรายพุถือเป็นภัยพิบัติประเภทหนึ่งที่มีโอกาสสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้ หากทรายพุที่ว่ามีขนาดหรือสเกลใหญ่ๆ ซึ่งกระบวนการเกิดทรายพุเกิดจากพฤติกรรมเฉพาะของชั้นทรายชุ่มน้ำ ที่เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทรายจะสามารถเคลื่อนตัว แทรกดันและพุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกได้ และจากหลักคิดง่ายๆ ...
วิจัย

ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว : ความเงียบที่รอวันระเบิดกับการวิเคราะห์เชิงสถิติ

หลักคิด เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมการปริแตกของหินหรือรอยเลื่อนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวในธรรมชาติ Sobolev (1995) ได้จำลองการเกิดแผ่นดินไหวจากการลองบีบอัดหินและตรวจวัดจำนวนเสียงปริแตกของหิน ซึ่งคล้ายกับการทดสอบของ Main และคณะ (1989) ในการวิเคราะห์ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ FMD แต่ผลการทดสอบของ Sobolev (1995) ตรวจพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการปริแตกของหิน และอธิบายว่าในระยะเริ่มต้นบีบอัดหินจำนวนเสียงปริแตกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มแรงบีบอัดมากขึ้น ...