Latest Articles

เรียนรู้

สิ่งที่ภูเขาไฟผุยออกมา ไม่ได้มีลาวาแค่อย่างเดียว

กรวดภูเขาไฟ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาจำแนกกรวดภูเขาไฟตามขนาด ดังแสดงในตารางด้านล่าง ชนิด ขนาด (มม.) ลักษณะเฉพาะ ฝุ่นภูเขาไฟ (dust)  < 0.2 ฟุ้งได้ไกลและอยู่ในอากาศได้นาน เถ้าภูเขาไฟ ...
เรียนรู้

โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง

แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ซึ่งแตกเป็นแผ่นๆ ลอยอยู่บนส่วนที่เป็นเนื้อโลก ...
เรียนรู้

6 สภาพแวดล้อม ที่ทำให้หินแข็งๆ แปรสภาพได้

จากลักษณะการแปรสภาพหินประกอบกับลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีแปรสัณฐานที่หินแปรชนิดต่างๆ นั้นถูกพบ นักธรณีวิทยาสามารถจำแนกสภาพแวดล้อมของการแปรสภาพเป็น 6 รูปแบบ 1) แปรจากสารละลายน้ำร้อน การแปรสภาพจากสารละลายน้ำร้อน (hydrothermal metamorphism) พบมากแถบสันเขากลางมหาสมุทร โดยน้ำทะเลไหลแทรกซึมลงไปตามแนวรอยแตกของสันเขากลางมหาสมุทร น้ำได้รับความร้อนจากมวลแมกมาใต้พื้นผิวโลกและทำละลายกับหินในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร เกิดเป็น สารละลายน้ำร้อน (hydrothermal solution) ที่มีไอออนชนิดต่างๆ และก๊าซจากหินหนืดผสมกัน พุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกในรูปของ ...
เรียนรู้

6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา

หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ประกอบด้วยหินอัคนีและหินแปรในยุคเก่า (โดยส่วนใหญ่มีอายุหินมากกว่า ...
เรียนรู้

รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา

ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง ภูมิลักษณ์จากการปะทุ 1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ทำให้เศษกรวดภูเขาไฟ กระเด็นออกจากปากปล่องกลายเป็นแอ่ง ...
เรียนรู้

มหายุคซีโนโซอิก – มหายุคแห่งนม

มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) เริ่มต้นเมื่อประมาณ 65 ล้านปี ถึงปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเข้ามาแทนที่สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปในมหายุคมีโซโซอิก พืชโดยส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีดอก ในทางธรณีแปรสัณฐาน มหายุคซีโนโซอิกเกิด กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) ที่สำคัญ 2 พื้นที่ คือ 1) แนวเทือกเขาอัลไพน์-หิมาลัย (Alpine-Himalayan ...
เรียนรู้

การคดโค้งโก่งงอของหิน

ชั้นหินคดโค้ง (fold) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินถูกแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานแบบบีบอัด (compressional stress) ทำให้หินเกิดความเครียดแบบหดสั้นลง และเกิดการคดโค้ง โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่เข้าหากัน และเป็นโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดแนวเทือกเขา และเพื่อที่จะจำแนกรูปร่างและการวางตัวของชั้นหินคดโค้งในรายละเอียด นักธรณีวิทยาจึงกำหนดส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของชั้นหินคดโค้งไว้อย่างน้อย 5 ส่วน 1) จุดพับ (hinge point) และ ...
เรียนรู้

ทะเลทรายไม่ได้ร้อนเสมอไป แถมยังเกิดได้หลายแบบ

โลกมี พื้นที่แห้งแล้ง (arid area) กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสภาพแวดล้อมแห้งแล้งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) หมายถึง พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) ฝนตกโดยเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตร โดยส่วนใหญ่อยู่ตามรอยต่อระหว่างทะเลทรายและพื้นที่ปกติ ...
เรียนรู้

กระบวนการแปรสภาพหิน

การแปรสภาพหิน (metamorphism) หมายถึง กระบวนการฟแปรสภาพ หินเดิม (photolith) ทั้งหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปร ให้กลายเป็น หินแปร (metamorphic rock) ซึ่งมีลักษณะหน้าตาไม่เหมือนเดิม โดยที่หินไม่หลอมละลายและยังคงสัดส่วนของแร่องค์ประกอบคล้ายกับหินเดิม ปัจจัยการแปรสภาพ ปัจจัยที่ทำให้หินแปรสภาพในขณะที่ยังเป็นของแข็งอยู่ประกอบด้วย 3 ปัจจัย 1) ความดัน ...
เรียนรู้

หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน

ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับสภาวะปกติของโลก เช่น ...
เรียนรู้

มหายุคพาลีโอโซอิก – เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มรุกขึ้นบก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 545-245 ล้านปี คิดเป็นประมาณ 7% ของประวัติศาสตร์โลก สิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยจำกัดอยู่เฉพาะในทะเล เช่น ปะการัง ไครนอยด์ ไทรโลไบต์ ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลาง สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก แมลงและพืชเคลื่อนที่สู่แผ่นดิน เกิดพืช เช่น เฟิร์นและต้นไม้ที่ไม่มีเมล็ด ...
เรียนรู้

รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน

รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ของหิน ทำให้หินเกิดรอยแตกในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแรงที่กระทำสูงที่สุด ...
เรียนรู้

มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย (ginkgoe) เป็นพืชโดดเด่นของมหายุคมีโซโซอิก ...
เรียนรู้

มหายุคพรีแคมเบียน – มหายุคแห่งการจัดแจงโลกและสิ่งมีชีวิต

ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมา ช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลก ซึ่งเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลก กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจึงง่วนไปกับการจัดระบบระเบียบของวัสดุหรือแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น ซึ่งตลอดช่วงเวลาของมหายุคนี้มีลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นบนโลกอยู่พอสมควร โดยนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งมหายุคพรีแคมเบียนออกเป็น ...
เรียนรู้

5 แนวทางสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกยกขึ้นมาพูดถึงและมีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน นักวิจัยหรือนักวิชาการสายรักษ์โลกก็พยายามตีความไปในทางที่ว่าปัจจุบันโลกกำลังร้อนขึ้น และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นอย่างนี้ก็คือกิจกรรมของมนุษย์อย่างพวกเรา แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่พยายามตีแผ่ข้อมูลว่าจากคาบหรือวงรอบของการขึ้นๆ ลงๆ ของอุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ในปัจจุบันนี้กำลังถึงจุดสูงสุด และกำลังเข้าสู่ภาวะที่จะกดหัวไปในทางที่โลกเย็นลง และภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หมายถึง การเบี่ยงเบนของสภาพอากาศไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี เช่น 1) จากการสังเกตวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา ชาวไวกิ้ง พ.ศ. ...
เรียนรู้

“ความเหมือนกันในตัวของตัวเอง” กับการศึกษารูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว (ฮั่นแน่ งง ? ลองอ่านดู…งงยิ่งกว่าเดิม)

แฟร็กทัล (Fractal) เป็นคำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ เหมือนกันในตัวเอง (self-similar) คือ ดูเหมือนกันหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (scale) ใดก็ตาม โดยจากการสังเกตและศึกษางานวิจัยในอดีต นักวิทยาศาสตร์พบความเป็นแฟร็กทัลมากที่สุดกับวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ เกร็ดหิมะ ใบไม้ ชายฝั่งทะเล เป็นต้น ...
เรียนรู้

เพราะแมกมาแตกต่าง นิสัยและรูปร่างภูเขาไฟจึงไม่เหมือนกัน

แมกมา (magma) เป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญที่ควบคุมลักษณะเฉพาะทั้งหมดที่สัมพันธ์กับภูเขาไฟ ทั้งรูปร่างของภูเขาไฟ สไตล์การปะทุ วัสดุที่เกิดจากภูเขาไฟ ตลอดจนรูปแบบของภัยพิบัติภูเขาไฟที่มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งในเชิงองค์ประกอบ แมกมาประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile) ของน้ำและก๊าซ รวมทั้ง 3) ...
เรียนรู้

ฉันจะเป็น “รอยเลื่อน” หรือ “รอยเลื่อนมีพลัง” มันก็ขึ้นอยู่กับความกลัวของพวกมนุษย์

ปกติเวลาพูดถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว พวกเรามักจะได้ยินคำว่ารอยเลื่อนบ้าง หรือไม่ก็รอยเลื่อนมีพลังบ้าง ซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนจะเหมือนกันแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน คำว่า รอยเลื่อน (fault) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เป็นแค่ 1 ใน 3 รูปแบบหลักๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งหมายถึงแนวรอยแตกของหินที่มีการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในอดีต และส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ไปในทางอธิบายความเหลื่อมหรือไม่ลงรอยกันของหินที่พบในแต่ละพื้นที่ จนบางครั้งนักธรณีวิทยาก็ใช่คำว่า รอยเลื่อนทางธรณีวิทยา (geological ...
สำรวจ

วงแหวนปะการังจิ๋ว-ชีวิตเล็กๆ ที่แอบบันทึกแผ่นดินไหวใหญ่ๆ

พับขากางเกงรอกันได้เลยครับ เพราะบทความนี้ผมกำลังจะพาพวกเราไปลุยน้ำซักครึ่งแข้ง เดินเลียบริมฝั่งทะเลไปสืบหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอดีต ก่อนอื่นต้องท้าวความก่อนว่า โดยปกติเวลาเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนั้นคือ การยกตัวและยุบตัวของบางพื้นที่ในละแวกใกล้ๆ ซึ่งถ้าพวกเราอยากรู้กลไกการยกและยุบแบบหนำใจ ผมแนะนำให้อ่านบทความนี้ “ การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว” ซึ่งผลจากการยกตัวและยุบตัวของพื้นที่ใกล้ๆกับแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในรายละเอียด และมีการเก็บหลักฐานซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการยกและยุบในแต่ละครั้ง วงแหวนปะการังจิ๋ว (microatoll) เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล สาเหตุที่เรียกว่า วงแหวนปะการังจิ๋ว ...
สำรวจ

การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า 2 วัน ...