เรียนรู้

บรรยากาศ

บรรยากาศ (atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) อากาศหรือก๊าซชนิดต่างๆ 2) ฝุ่นละออง และ 3) ไอน้ำ แรงโน้มถ่วงทำให้อากาศไม่หลุดออกไปสู่นอกโลก โดยบรรยากาศมีความดันและความหนาแน่นอากาศสูงที่ระดับน้ำทะเล เมื่อสูงขึ้นไปความดันและความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ โดยบรรยากาศเป็นตัวควบคุมคุณสมบัติทางกายภาพของภูมิอากาศแลัสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ...
เรียนรู้

ลาวา : รูปแบบและปัจจัยการประทุ

ภูเขาไฟ – แมกมา (magma) ประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile)ของน้ำและก๊าซ รวมทั้ง 3) หินแปลกปลอม (xenolith) ต่างๆ ที่อาจปะปนกันมาตลอดระยะทางระหว่างการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกแมกมาออกเป็น 3 ชนิด ตามองค์ประกอบทางเคมีและสัดส่วนความเข้มข้นของแร่ซิลิกา (SiO2) ซึ่งแมกมาแต่ละชนิดส่งผลให้เกิดคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของกิจกรรมทางภูเขาไฟ ทั้งรูปร่างภูเขาไฟ ...
เรียนรู้

แผ่นเปลือกโลก และกลไกการเคลื่อนที่

แผ่นเปลือกโลก – หลังจากปี พ. ศ. 2458 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอ แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาพอปี พ.ศ. 2472 อาร์เธอร์ โฮล์มส์ ...
สำรวจ

ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)

ในทาง แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ปัจจุบันมีแนวคิด วิธีการ หรือทฤษฎีมากมายที่ นักแผ่นดินไหว (seismologist) ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะคาดการณ์สถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง USGS (2002) ได้จัดกลุ่มวิธีต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ในแต่ละวิธีนั้นมีความพอฟังได้ น่าเชื่อถือเอาไว้ 3 กลุ่ม คือ การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะยาว (long-term ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศไทยที่อยู่ใกล้กับขอบของแผ่นเปลือกโลกมากที่สุด ...
เรียนรู้

ทำไมต้องแผ่นดินไหว 7up สึนามิถึงจะขึ้น

ในบรรดาสาเหตุของการเกิดสึนามิทั่วโลก กิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานใต้ทะเล (submarine tectonic activity) ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสึนามิบ่อยที่สุด แต่จะเกิดสึนามิได้หรือไม่ กระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ว่า ต้องเข้าหลักการ 2 ข้อ คือ 1) การเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น จะต้องเป็นการเลื่อนตัวในแนวดิงเป็นหลัก จึงจะทำให้มีโอกาสเกิดสึนามิ ทั้งนี้ก็เพราะสึนามิเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในแนวดิ่งใต้ทะเล และยกมวลน้ำขึ้นอย่างทันทีทันใด ดังนั้นต่อให้แผ่นดินไหวมีขนาดใหญ่แค่ไหนหากเป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ (strike ...
เรียนรู้

อุกกาบาต กับการโหม่งโลก

ดาวตก (meteor) คือ เทหวัตถุขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ ซึ่งเมื่อเทหวัตถุเหล่านี้โคจรเข้าใกล้โลก อิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เทหวัตถุเหล่านั้นตกสู่พื้นโลก แต่ในระหว่างที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการเสียดสีเผาไหม้ ทำให้เห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้าคล้ายกับดาวหางที่กำลังพุ่งชนโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักตกไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากถูกเสียดสีเผาไหม้จนหมดในอากาศ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ ตันกัสคา (Tunguska) เขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2451 เกิดการระเบิดของอุกกาบาตก่อนตกถึงพื้นโลก ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งก็คือรอยร้าวภายในแผ่นเปลือกโลกที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในอดีต และล่าสุดกรมทรัพยากรธรณี ...
วิจัย

สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์

หากพูดถึงกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะบทสนทนาที่ว่าด้วยปริมาณ ประโยคจะสมบูรณ์จบลงได้ก็ควรจะต้องมีหน่วยชั่ง-ตวง-วัดเข้ามากำกับ “ป้าครับ !!! ขอนม 1 ขวด แก้ว 1 ใบ แล้วก็เพื่อนข้างกายซัก 1 คน” ขวด–ใบ–คน คือ หน่วยวัดสำคัญที่จะทำให้เครื่องรับและเครื่องส่งประมวลผลการสื่อสารไปในทิศทางเดียว เรื่องของแผ่นดินไหวก็เช่นกัน หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ก็ได้ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล ...
เรียนรู้

ปรากฏการณ์ขั้วโลกพเนจร กับการศึกษาภูมิศาสตร์บรรพกาล

จากการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกในปัจจุบัน ถึงแม้จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโลกของเรามี สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ครอบคลุมอยู่ โดยในปัจจุบัน เส้นแรงแม่เหล็กโลกพุ่งออกจาก ขั้วแม่เหล็กโลกใต้ (south magnetic pole) แล้ววิ่งโค้งข้ามหัวพวกเราไปมุดตัวอีกทีที่ ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ (north magnetic pole) และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาต่างๆ นักธรณีวิทยาเชื่อว่าสนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นได้เพราะการหมุนวนของวัสดุภายในโลกที่มีแร่เหล็กจำนวนมากและอยู่ในสถานะของเหลว ...
เรียนรู้

“ธรณีแอ่นตัว” ทฤษฏีที่ดับมอดลง หลังการมาถึงของ “ธรณีแปรสัณฐาน”

ในอดีตหลังจากที่นักสำรวจและนักธรณีวิทยาค้นพบพื้นที่ต่างๆ ของโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เกิดข้อสงสัยจำนวนมากเกี่ยวกับการกระจายตัวของภูมิประเทศและหินชนิดต่างๆ ที่พบในแต่ละพื้นที่ โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าความแตกต่างของหินและภูมิประเทศดังกล่าว น่าจะเกิดจากกระบวนการหรือกิจกรรมบางอย่างของโลก และมีความพยายามที่จะอธิบายการมีอยู่ของหินต่างๆ และการเกิดภูมิประเทศที่หลากหลาย ในแต่ละพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เป็นทฤษฏีเริ่มแรก ที่นักธรณีวิทยาพยายามจะปักธงและตั้งแนวคิดขึ้น เพื่อใช้ในการให้เหตุให้ผลแก่หินและภูมิประเทศที่พบในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งกว่าจะเกิดทฤษฏีนี้ได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมมือของนักธรณีวิทยาที่เห็นพ้องต้องกันหลายๆ คน ลองไปดูกันครับว่านักธรณีวิทยาแต่ละคนเขาคิดอะไรกันยังไง ฮอลล์ และ ...
เรียนรู้

การหาอายุวัสดุทางธรณีวิทยาและโบราณคดี

ในการสืบค้นหรือศึกษาเรื่องราวในอดีต ไม่ว่าจะเป็นทางธรณีวิทยาหรือโบราณคดี หากมีพยานบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่คอยบอกเล่า เรื่องราวก็คงคลี่คลายได้ง่าย หรือหากย้อนกลับไปไกลขึ้นอีกก่อนหน้านั้น ในช่วงที่มี บันทึกประวัติศาสตร์ (historical record) ทั้งจดหมายเหตุ คัมภีร์ใบลาน คติชาวบ้าน ฯลฯ นักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีก็ยังพอจะปะติดปะต่อเรื่องราวของงานที่กำลังศึกษาได้ อย่างไรก็ตามหากตัวละครที่กำลังศึกษานั้นเก่าแก่หรือมีอายุมากกว่าเกินที่จะมีคนคอยบอกเล่าหรือมีบันทึกเก็บเอาไว้ หนทางเดียวที่นักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีจะสามารถลำดับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ก็คือ การหาอายุจากวัดจากวัสดุหรือตัวละครที่ยังหลงเหลืออยู่ในตอนนั้น ซึ่งนอกจาก การหาอายุสัมพัทธ์ (relative-age ...
สำรวจ

“คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ถ้าจะให้พูดกันอย่างแฟร์ๆ วิทยาศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาในภายหลังจากความเชื่อในท้องถิ่นที่มักจะมีอยู่ก็ก่อนแล้ว ดังนั้นในหลายๆ สถานที่บนโลก จึงถูกอธิบายไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธา และอาจจะมีในบางสถานที่ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ เคียงขนานกันไป ซึ่งนั่นก็รวมถึงสถานที่ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าในบทความนี้เช่นกัน เพราะเรื่องเล่าในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะลบล้างหรือลบหลู่ความเชื่อในท้องที่ที่มีอยู่ก่อน แต่เจตนาหลักของการเล่าเรื่องก็เพียงแค่อยากให้มีมุมของวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีกซักมุม เดินเคียงกันไปกับความศัทธาดั้งเดิม คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง ...
เรียนรู้

5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”

เศษหิน หรือ ตะกอน (sediment) หมายถึง เศษอนินทรียวัตถุทางธรรมชาติ เช่น แร่ที่ผุพังและถูกพัดพาไปสะสมตัวในพื้นที่ใดๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก ดิน (soil) ที่มีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อินทรียวัตถุ น้ำและก๊าซต่างๆ โดยตะกอนหรือหินตะกอนมีประโยชน์อย่างมากในการแปลความสภาพแวดล้อมในอดีต ทั้งจากลักษณะการสะสมตัวและคุณสมบัติต่างๆ ของเม็ดตะกอนที่พบ ซึ่งในเบื้องต้นทาง ...
เรียนรู้

ดิน เบื้องต้น

ดิน (soil) คือ วัตถุทางธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย เศษหินและแร่ ประมาณ 45% น้ำ ประมาณ 25% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน ประมาณ 25% รวมทั้ง อินทรียวัตถุจากซากพืชซากสัตว์ อีกประมาณ 5% ซึ่งเนื้อดินโดยส่วนใหญ่จะมีความพรุนสูง ...
เรียนรู้

หยาดน้ำฟ้า ไม่ได้มีแค่ฝนกับหิมะ

หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจาการควบแน่นของ ละอองน้ำในเมฆ (cloud droplet) จนมีน้ำหนักพอที่จะตกตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ฟุ้งในอากาศ และไม่ระเหยไประหว่างที่กำลังตกลงมา ซึ่งโดยนิยาม หยาดน้ำฟ้าแตกต่างจากละอองน้ำในก้อนเมฆ ตรงที่หยาดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากพอที่จะชนะแรงต้านอากาศ ดังนั้นกระบวนการเกิดหยาดน้ำฟ้าจึงซับซ้อนมากกว่าการควบแน่นที่ทำให้เกิดเมฆ และส่วนใหญ่เราจะคุ้นชินกับ ฝน (rain) หรือ หิมะ (snow) ...
เรียนรู้

แบบฝึกหัด 7 การผุพังและการย้ายมวล

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด 1) แบบฝึกหัดจับคู่ คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน ...
เรียนรู้

4 วิธี จับพิรุธภูมิประเทศ ด้วยตัวเลข

ดัชนีธรณีสัณฐาน (geomorphic index) คือ การวิเคราะห์ ธรณีสัณฐาน (morphology) หรือ ภูมิลักษณ์ (landform) หรือ พื้นผิวโลก ในเชิงปริมาณ (ตัวเลข) โดยอาศัยข้อมูลภูมิประเทศทั้งในรูปของ ภาพถ่ายดาวเทียม (sattelite image) และข้อมูล ข้อมูลระดับสูงเชิงเลข ...
เรียนรู้

เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหว

อย่างที่รู้ๆ กัน ว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง แรงสั่นสะเทือนสามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกทิศทุกทางและไกลหลายพันกิโลเมตร โดยเฉพาะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ จึงไม่ผิดนักที่จะบอกว่าบนโลกนี้ยังมีอีกหลายที่ ที่ยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว แต่ไม่มีที่ใดที่ไม่เคยได้รับแรงสั่นสะเทือน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเทคนิคของ อุปกรณ์ล่าแผ่นดินไหว และข้อจำกัดอื่นๆ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็ไม่ใช่ว่าทุกสถานีจะสามารถตรวจจับคลื่นได้ ซึ่งถ้าคิดในแง่โอกาสที่จะได้ทำความรู้จักกับแผ่นดินไหว วิธีที่ดีที่สุดคือการจับมือกันเป็นเครือข่าย ฉันวัดได้บ้าง เธอวัดได้บ้างแล้วเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันศึกษา ปัจจุบัน เครือข่ายสถานีวัดแผ่นดินไหว (Seismic Network) ...