เรียนรู้

โต๊ะจีนแผ่นดินไหว : Earthquake Chinese Banquet

แผ่นดินไหว – จากประสบการณ์อันช่ำชองของแผ่นดินไหวในอดีต ทำให้นักแผ่นดินไหวส่วนใหญ่สังเกตได้ว่า ถ้าแผ่นดินไหวใหญ่ๆ เกิดทั้งที ปกติจะเสิร์ฟแผ่นดินไหวให้เป็นชุดๆ เหมือนกับชุดแฮปปี้มีลของแมคโดนัลด์ หรือเหมือนกับ โต๊ะจีน (Chinese Banquet) ที่จัดมาให้ร้อง ว๊าว ว๊าว ว๊าวววว !!! ตามลำดับ ถ้าจะต่างกัน ก็แค่ปกติโต๊ะจีนเสิร์ฟที ...
เรียนรู้

ธรณีกาล : กาลเวลาทางธรณีวิทยา

ธรณีกาล (geological time scale) คือ การแบ่งย่อยเหตุการณ์หรืออายุทางธรณีวิทยาตามช่วงเวลาต่างๆ โดยนักธรณีวิทยาได้จำแนกและจัดหมวดหมู่กาลเวลาตลอดอายุขัยของโลกออกเป็นช่วงๆ ตามหน่วยเวลาย่อยๆ ดังนี้ 1) บรมยุค (Eon) บรมยุค (eon) เป็นหน่วยเวลาที่ใหญ่ที่สุดในทางธรณีกาล โดยตลอดช่วงอายุ 4,600 ล้านปี ของโลก ประกอบด้วย ...
วิจัย

อยากรู้นิสัยแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ควรใส่ใจแผ่นดินไหวเล็กๆ

แผ่นดินไหว – ในการเฝ้าติดตาม ตรวจจับและตรวจวัดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ยิ่ง เครือข่ายการตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นถือเป็นเรื่องดี !!! บางท่านอาจจะสงสัยว่าแผ่นดินไหวเล็กๆ จะไปกลัวกันทำไม จะไปมองมันทำไมให้เสียเวลา เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า โดยธรรมชาติของการเกิดภัย (รวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วยนะ) แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่แผ่นดินไหวใหญ่ นานๆ จะเกิดที และในบางพื้นที่แผ่นดินไหวใหญ่เกิดน้อยเกินไป ...
สำรวจ

ความเฟี้ยวของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนลำตะคอง

เขื่อน – ในบรรดาเขื่อนต่างๆ กว่า 39 เขื่อน ที่มีอยู่ในประเทศไทย เขื่อนส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เป็น หุบเขาร่องลึก (valley) ตามภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของไทย ทั้งนี้ก็เพราะความเหมาะในการเก็บน้ำแบบลึกๆ แต่กินพื้นที่แคบๆ ซึ่งในทางธรณีวิทยาหุบเขาร่องลึกจะเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะมี รอยเลื่อน (fault) เป็นตัวควบคุม ...
เรียนรู้

วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)

วัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) หมายถึง วัฏจักรการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่างของเหลว ของแข็งและก๊าซ ตามสภาพแวดล้อมที่น้ำอาศัยอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำแนกได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การระเหย การระเหย (evaporation) คือ การเปลี่ยนสถานะของน้ำบนพื้นผิวโลกไปสู่บรรยากาศ ทั้งในรูปของไอน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำโดยตรง และ การคายน้ำของพืช ...
สำรวจ

กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก

ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด แต่กลับเป็นหลักฐานทาง ตะกอนวิทยา ...
เรียนรู้

อุลกมณี (tektite)

อุลกมณี (tektite) ถ้าจะให้แปลเป็นไทย คนไทยเคยเรียกเอาไว้และเรียกได้หลายชื่อ เช่น อุลกมณี (นิยมเรียกที่สุด) อุกกามณี หยดน้ำฟ้า แก้วข้าว สะเก็ดดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หรือจะเรียกทับศัพท์แบบฝรั่งไปเลยก็ได้ว่า เทคไทต์ โดยหน้าตาอุลกมณีหรือเทคไทต์ทั่วๆ ไป ก็จะมีลักษณะเป็น ก้อนดำๆ กำถนัดมือ ...
เรียนรู้

นักธรณีวิทยา เขาบอกตำแหน่งและการวางตัวของวัตถุบนโลกแบบไหน

เมื่อนักสำรวจหรือนักธรณีวิทยาค้นพบอะไรบางอย่างและต้องการที่จะบอกตำแหน่งหรือการวางตัวของวัตถุ หรือตัวละครที่พิจารณานั้น นักธรณีวิทยามีวิธีการบอกเป็นหลักเป็นการ โดยอันดับแรกจะต้องแปลความหรือมองวัตถุหรือตัวละครนั้นให้อยู่ในเชิงเรขาคณิตเสียก่อน ว่าเป็น จุด เส้น ระนาบ หรือจะเป็น รูปทรง ที่มีปริมาตรหลังจากนั้นในแต่ละชนิดก็จะมีรูปแบบของการบรรยายหรือพรรณนาตำแหน่งและการวางตัวที่แตกต่างกัน ดังนี้ จุด (Point) ในกรณีของวัตถุที่พิจารณาว่าเป็นจุด เช่น ตำแหน่งหมู่บ้านตำแหน่งภูเขาไฟ หรือ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ฯลฯ ...
เรียนรู้

เมื่อหนังหน้าโลกเหลื่อมกัน

รอยเลื่อน – โดยธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมี ปฏิสัมพันธ์กับแผ่นอื่นอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) เข้าชนแล้วก็มุดกัน ซึ่งจะเป็นขอบตามทิศทางการเคลื่อนที่ 2) แยกออกจากกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และ 3) เคลื่อนผ่านกัน ซึ่งอยู่ที่ด้านขนาบข้างการเคลื่อนที่ทั้ง ...
เรียนรู้

การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะยาว

ก็เพราะโดนมาเยอะ เจ็บมาเยอะ มนุษย์เลยตระหนักได้ว่าถ้าไม่สนใจนิสัย แผ่นดินไหว นับวันก็มีแต่จะเจ็บตัวฟรี ก่อนที่สถานการณ์จะย่ำแย่ไปกว่านี้ นักแผ่นดินไหวจึงพยายามศึกษาลักษณะเฉพาะต่างๆ ของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะคาดเดาว่าคุณพี่จะมาอีกเมื่อไหร่ หวยจะออกตรงไหน แต่ปัญหาใหญ่คือแผ่นดินไหวมันไม่มีตัวตน มองไม่เห็นเหมือนเมฆฝนที่ต้องตั้งเค้าก่อนแล้วค่อยปะทะ ดังนั้น การพยากรณ์แผ่นดินไหว (earthquake forecasting) หรือ การทำนายแผ่นดินไหว (earthquake prediction) ...
เรียนรู้

การเปลี่ยนรูปของหิน : ปัจจัยและรูปแบบ

แรงเค้นและการเปลี่ยนรูปหิน หิน – ในธรรมชาติ เมื่อมี แรงเค้น (stress) เข้ามากระทำวัสดุใดๆ จะทำให้วัสดุนั้นเกิด ความเครียด (strain) และมีโอกาส เปลี่ยนรูป (deform) ไปจากเดิม ซึ่งแรงเค้นดังกล่าวแบ่งย่อยเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) ...
สำรวจ

เขตมุดตัว (ของเปลือกโลก) ระดับโลก

ธรณีแปรสัณฐาน – ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกตามที่ต่างๆ ทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) หรือ ร่องลึกก้นสมุทร (trench) กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน ร่องลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก และร่องลึกก้นสมุทรชวา เป็นต้น ...
เรียนรู้

เมทิโอสึนามิ : สึนามิที่เกิดจากกระบวนการทางอุตุนิยมวิทยา

เมทิโอสึนามิ (meteotsunami) คือ ? meteo (เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา) + tsunami ( สึนามิ ) ดังนั้นคำว่า เมทิโอสึนามิ (meteotsunami) จึงหมายถึง สึนามิที่เกิดจากสาเหตุทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ลม พายุ ที่กระโชกโฮกฮาก ...
เรียนรู้

ยุคน้ำแข็ง (Ice Age)

ยุคน้ำแข็ง (ice age) หมายถึง ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าธารน้ำแข็งปัจจุบันจะคิดเป็นแค่ 10% ของพื้นโลก แต่ตัวอย่างเช่นใน ยุคน้ำแข็งล่าสุดเมื่อประมาณ 11,000 ปีที่ผ่านมา มีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นโลกถึง 30% ซึ่งจากหลักฐานยืนยันว่าที่ผ่านมามีการเกิดยุคน้ำแข็งหลายครั้ง โดย ขั้วโลกเหนือมีการแผ่ของธารน้ำแข็งได้มากกว่าขั้วโลกใต้ เนื่องจากทางซีกโลกเหนือมีแผ่นดินให้เกิดธารน้ำแข็งมากกว่าซีกโลกใต้ โดยหากพิจารณาการเกิดยุคน้ำแข็งที่เด่นชัด นักวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น ...
เรียนรู้

ชั้นน้ำและการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในมหาสมุทร

เนื่องจากน้ำใน มหาสมุทร นั้นสามารถดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลกได้ มหาสมุทรจึงมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศและอุณหภูมิของโลก ซึ่งกระแสน้ำในมหาสมุทรเป็นตัวกลางการกระจายความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงแถบศูนย์สูตรไปสู่พื้นที่เย็นแถบขั้วโลก ดังนั้นในการศึกษาด้าน สมุทรศาสตร์ (Oceanography) จึงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติของน้ำในมหาสมุทร ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ 1) องค์ประกอบ (composition) น้ำทะเลประกอบด้วยแร่ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายประมาณ 3.5% โดยน้ำหนัก โดยในจำนวนนี้มีแร่จำนวนมาก เช่น โซเดียม ...
เรียนรู้

คลื่นกลางมหาสมุทร และกระแสน้ำริมฝั่ง

คลื่นน้ำ (water wave) ในมหาสมุทร คือ คลื่น ที่เกิดจากการกระเพื่อมขึ้น-ลงของผิวน้ำ เกิดจากการถ่ายทอดพลังงานจากลมเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากลมพัดอ่อนๆ ทำให้พื้นน้ำที่ราบเรียบกลายเป็น ระลอกคลื่น (ripple) ต่อมาผิวน้ำที่ขรุขระจากระรอกคลื่นทำให้ลมปะทะกับน้ำได้ง่ายขึ้น ทำให้คลื่นใหญ่ขึ้นตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความเร็วและความยาวนานของลมที่เข้าปะทะ (รูปซ้าย) โดยเมื่อคลื่นเดินทางผ่านน้ำ มวลน้ำจะเคลื่อนที่แบบหมุนวนแต่จะไม่มีการเดินทางของมวลน้ำ สังเกตได้จากวัตถุใดๆ หรือเรือเมื่อลอยอยู่ในมหาสมุทรจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมตามจังหวะการกระเพื่อมของคลื่น ...
เรียนรู้

หินตะกอนชีวภาพ

หินตะกอน หินตะกอน (sedimentary rock) หรือ หินชั้น คือ หินที่เกิดจากการทับถมของเศษเม็ดตะกอน ที่ได้มาจากการผุพังของหินเดิมที่แก่กว่า โดยแร่ประกอบหินที่สำคัญของหินตะกอน ได้แก่ แร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ แคลไซต์ โดโลไมต์ ยิปซั่มและแร่เฮไลด์ เป็นต้น ซึ่งด้วยชื่อว่าหินตะกอนและภาพจำเก่าๆ เราก็นึกว่าหินตะกอนต้องมองเห็นตะกอนเป็นเม็ดๆ เชื่อมติดกัน ...
เรียนรู้

ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก บันทึกทางธรณีวิทยา (geological ...
เรียนรู้

รู้จัก “คลื่นเซซ” ลูกแท้ๆ ของ แผ่นดินไหว

ในบรรดาปรากฏการณ์มวลน้ำยกพลขึ้นฝั่ง แล้วกระทบความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายให้กับสิ่งที่หวงแหนของมนุษย์ ไม่ได้มีเฉพาะคลื่นน้ำที่เกิดจาก แผ่นดินไหว รวมความดูแล้วน่าจะมีอยู่ประมาณ 4 รูปแบบ ได้แก่ สมมุติว่าคุยกันแบบพ่อๆ ลูกๆ เวลาเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นมา หลายคนก็คงคิดว่าสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวนั้นๆ แผ่นดินไหวเป็นพ่อ ส่วนสึนามิก็เป็นลูก ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว แต่เปล่าเลย !!! ความจริงทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ต่างก็เป็นพี่น้องกัน ที่เกิดจากพ่อหรือแม่เดียวกัน ...
เรียนรู้

อย่าว่าแต่รูปากใบ หินก้อนใหญ่ๆ ก็เอามาแปะสไลด์ ส่องใต้กล้องได้เหมือนกัน

ถ้ายังจำกันได้ พวกเราเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ก็ประมาณ ม.4 ม.5 และกิจกรรมเปิดตัวชิ้นแรกๆ ที่เราได้รับมอบหมายจากคุณครู ก็คือการศึกษารูปากใบของพืช หัวหน้าห้องต้องลงไปที่สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เด็ดใบไม้สัก 2-3 ใบขึ้นมา ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แปะใส่ไสลด์ แล้วเอาไปส่อง (อย่างเมามันส์) เพื่อดูรูปากใบ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เชื่อกันไหมว่าในทางธรณีวิทยาก็เช่นกัน การที่จะศึกษาหรือจำแนกหินว่าเป็นหินชนิดใด ประกอบด้วยแร่อะไรบ้าง ...