วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต

นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน (Mae Chan ...
วิจัย

กลุ่มรอยเลื่อนในภาคตะวันตกของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต

ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับแอ่งที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริเวณชายแดนภาคตะวันตกของประเทศไทย-พม่า จึงมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว (Charusiri และคณะ, 2007) เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนฮัทจีในประเทศพม่า (Pailoplee, 2009) เขื่อนภูมิพลในจังหวัดตาก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณในจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนท่าทุ่งนาในจังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนกระเสียวในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community, AEC) ...
เรียนรู้

เคล็ดลับการทำเบบี้เฟสหนังหน้าโลก

ถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างพื้นผิวของโลกและดวงจันทร์ มันก็เหมือนการเอาหน้าลุงแก่ๆ คนหนึ่งมาเทียบกับหน้าของเด็กวัยขบเผาะอายุซัก 14-15 ผิวหน้าโลกดูราบเรียบชุ่มชื้นและดูมีน้ำมีนวล ในขณะที่หนังหน้าของดวงจันทร์ดูแห้งกร้าน หยาบกระด้าง เพราะเต็มไปด้วยหลุม หรือริ้วรอยการตกกระทบของอุกกาบาต ตลอดช่วงอายุของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมา จะว่าไปความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เค้าเหลาๆ กันมา ก็บอกว่าโลกเกิดก่อนดวงจันทร์มาซักพัก ดังนั้นโลกก็ควรจะผ่านร้อนผ่านหนาวและควรจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตที่มากกว่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ควรจะยุบยับพอๆ หรือเท่าๆ กับที่เราเห็นบนดวงจันทร์ ทำไมถึงคิดอย่างนั้นนะเหรอ ก็เพราะดวงจันทร์ถือเป็น ...
เรียนรู้

กลวิธีชี้เป้า (แผ่นดินไหว)

ด้วยความที่ช่างเจริญพันธุ์ของคลื่นไหวสะเทือนนี้ ทำให้แม้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว จะมี ลูกๆ หลานๆ คลื่น 4 ชุด วิ่งตามกันมา จวบจนเมื่อครอบครัวคลื่นวิ่งมาชนเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เราวางดักไว้ คลื่นไหวสะเทือนจะถูกลอกลายลงบนกราฟบันทึกแผ่นดินไหวให้เราเห็นอย่างในรูปล่าง ด้วยความที่เกิดก่อน คลื่นรุ่นลูกอย่างพี่ปฐมจะวิ่งเข้าเส้นชัยถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นคลื่นแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยน้องทุตยที่วิ่งช้ากว่า ส่วนคลื่นเลิฟจริงๆ ก็มีฝีเท้าพอๆ กับพี่ปฐม แต่เพราะเกิดมาทีหลังเป็นรุ่นหลาน เลยต้องวิ่งกวดตามมาทีหลังเป็นอันดับ 3 ...
เรียนรู้

การลำดับญาติ คลื่นแผ่นดินไหว

ถ้าจะให้ถูกต้องตามที่คนวงการแผ่นดินไหวเขาเรียกกัน คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว เขาเรียกกันว่า คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) แต่พวกเราจะเรียกคลื่นแผ่นดินไหว โดยส่วนตัวก็ไม่คิดว่าจะผิดอะไร ซึ่งโดยความหมาย คลื่นไหวสะเทือนก็คือคลื่นที่วิ่งอยู่ในตัวหรือบนพื้นผิวของโลก อันเป็นผลพวงมาจากพลังงานที่แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นปลดปล่อยออกมา โดยหลังจากที่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวถูกพัฒนาขึ้นมาจนเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว กราฟแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ทำให้เรารู้ว่าคลื่นไหวสะเทือนนั้น มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง คลื่นจะไหลมาเทมาเป็นชุดๆ ชุดของคลื่นหลากสไตล์หลายลีลาปะปนกัน ลองมาดูกันครับว่า มีอะไรสอดไส้อยู่ในชุดคลื่นไหวสะเทือน ...
เรียนรู้

มนุษย์ก็สร้างแผ่นดินไหวได้

นอกจากกลไกของโลกที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ในปัจจุบัน ก็เป็นตัวสร้างหรือเหนี่ยวนำให้เกิดแผ่นดินไหว (induced earthquake) ได้เหมือนกัน เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี อยากมีแผ่นดินไหวเป็นของตัวเองซะอย่างงั้น ตัวอย่างก็พอจะมีให้เห็น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ นับตั้งแต่การนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ โดยคุณลุงชาวเยอรมันที่ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Einstein A.) และการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ...
เรียนรู้

ธารน้ำแข็งและการเกิด

ธารน้ำแข็ง (glacier) หมายถึง มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะบนแผ่นดินและเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งภายใต้สภาพอากาศหนาวเย็นเพียงพอที่จะรักษาสภาพไม่ให้น้ำแข็งละลายในฤดูร้อน ธารน้ำแข็ง (glacier) แตกต่างจากน้ำทะเลแถบขั้วโลกที่กลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งจะเรียกแตกต่างกันว่า น้ำแข็งทะเล (sea ice) และน้ำแข็งทั้งสองประเภทส่งผลกระทบต่อโลกแตกต่างกัน ธารน้ำแข็งละลายทำให้นำทะเลเปลี่ยนระดับ ส่วนน้ำแข็งทะเลละลาย ลดการสะท้อนกลับของแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก กระบวนการเกิดน้ำแข็ง (glacial formation) เริ่มจากการสะสมตัวของ เกล็ดหิมะ ...
เรียนรู้

ธารน้ำแข็งพาตะกอนเอาไปกองไว้ตรงไหนบ้าง

โดยธรรมชาติ ธารน้ำแข็งสามารถกัดกร่อนและพัดพาตะกอนไปได้ในปริมาณมหาศาล ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะเริ่มตกสะสมตัวเมื่อธารน้ำแข็งละลาย ทำให้บริเวณที่ตะกอนธารน้ำแข็งสะสมตัวเกิดเป็นภูมิลักษณ์เฉพาะตัว แปลกตา โดยตะกอนที่ได้จากการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง เรียกว่า ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial drift) แบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ 1) ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น (unstratified drift) และ 2) ...
เรียนรู้

ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน

ในบรรดาหินทั้ง 3 ชนิด (หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร) หินตะกอน ถือเป็นหินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในหลายๆ กรณีหินตะกอนได้เก็บรักษาลักษณะโครงสร้างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในระหว่างที่ตะกอนสะสมตัวในอดีตได้เป็นอย่างดีรวมทั้งซากสิ่งมีชีวิตที่ในหลายๆ ครั้งก็ถูกปิดเก็บไว้ภายในชั้นหินตะกอน ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างดังกล่าวมีหลากหลาย ซึ่งนักธรณีวิทยาจัดจำแนกเอาไว้อย่างน้อย 8 รูปแบบเด่นๆ ดังนี้ ชั้นตะกอน ตะกอน (bed) เกิดจากการตกทับถมของตะกอนเนื่องจากระดับพลังงานในการพัดพาที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถแยกชั้นได้ ...
เรียนรู้

5 ลางสังหรณ์ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

การทำนายระยะสั้น (short-term prediction) เป็นการคาดการณ์การมาของแผ่นดินไหวในระดับวัน-เดือน ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ากลไกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นซับซ้อนมากและกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งเวลาการเก็บพลังงานที่เพียงพอ ชนิดของหินที่จะเป็นตัวบอกว่าแผ่นดินนั้นล๊อคกันได้นานแค่ไหน และอื่นๆ อีกจิปาถะ ถ้าต้องคิดเป็นสมการความสัมพันธ์ ก็คงต้องยาวเหยียด 3-4 หน้ากระดาษ ด้วยเหตุของความซับซ้อนนี้ ในบางครั้งนักแผ่นดินไหววิทยาจึงพยายามมองหา สัญญาณบอกเหตุ (precursor) หรือ ลางสังหรณ์ ...
เรียนรู้

บ่อน้ำบาดาลและผลกระทบจากการใช้น้ำใต้ดิน

บ่อน้ำบาดาล (groundwater well) คือ บ่อหรือหลุมที่มนุษย์ขุดหรือเจาะลึกลงไป เพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยปกติโดยส่วนใหญ่เจาะให้ผ่าน ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ใต้ระดับน้ำใต้ดิน การสร้างบ่อน้ำบาดาล ในการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลในแต่ละบ่อมีขั้นตอนในการทำงานอย่างน้อย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน (groundwater exploration) ในอดีตชาวบ้านสำรวจหาแหล่งน้ำใต้ดิน ...
เรียนรู้

กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างน้อย 8 ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ...
เรียนรู้

ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ หรือบางครั้งอาจจะบอกถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลานั้นด้วย ฟอสซิลดัชนี ...
เรียนรู้

13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ

ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine ...
เรียนรู้

หินตะกอนเคมี

โดยปกติถ้าพูดถึงหินตะกอน พวกเราอาจจะคิดว่าถ้าได้มองหินตะกอนไกล้ๆ เราก็จะเห็นเม็ดตะกอนเป็นเม็ดๆ จับตัวกันยู่ ซึ่งนั่นคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ส่วน หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกตะกอนและสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาในรูปของสารละลายในน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หินตะกอนเคมีแทบจะไม่สามรถมองเห็นเม็ดของตะกอนได้เลยด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เนื่อจากตะกอนมีขนาดเล็กมาก แต่อาจมองเห็นเม็ดของแร่ได้หากส่องดูภายใต้กล้องจลทรรศน์ ในธรรมชาติ ...
เรียนรู้

การป้องกันชายฝั่ง

ไม่ว่าจะด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกตามธรรมชาติหรือวัฏจักร หรือว่าการรุกล้ำของมนุษย์ แต่สภาพบริเวณชายฝั่งปัจจุบันในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก พบว่าบางพื้นที่สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพื้นที่ที่มนุษย์เคยจับจอง กำลังถูกทำลายหรือยึดคืนพื้นที่ด้วยกระแสน้ำริมฝั่งทะเล อย่างที่เราเรียกกันว่า ภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) ซึ่งจากความหวงแหนของมนุษย์เอง ทำให้มีการคิดหาวิธีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในหลากหลารูปแบบ ตามปัญหาหรือลีลาการกัดเซาะของโลกในแต่ละพื้นที่ 1) กำแพงกันคลื่น กำแพงกันคลื่น (seawall) กำแพงมีทั้งเป็นหินและเป็นคอนกรีต แต่ในบ้างพื้นที่กลับพบว่าการทำกำแพงจะเร่งอัตราการผุพังให้สูงขึ้น ...
เรียนรู้

หินตะกอนเนื้อเม็ด

หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic หรือ detrital sedimentary rock) เกิดโดยการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ และแข็งตัวกลายเป็นหิน หรือ การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมีหรือทางชีวภาพของตะกอน ตั้งแต่ตะกอนเริ่มสะสมตัวจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งกระบวนการก่อตัวใหม่ของตะกอนจนกลายเป็นหินประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก 1) การอัดแน่น ...
เรียนรู้

บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง

เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น สามารถถูกพัดพาต่อไปได้หรือตกสะสมตัวที่แตกต่างกัน การตกตะกอนโดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง ...
เรียนรู้

ขอบทวีป ในทางธรณีวิทยาไม่ใช่ริมทะเล

ขอบทวีป (continental margin) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงริมชายฝั่งทะเล แต่ขอบทวีปในที่นี้หมายถึง ขอบระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปกับแผ่นดเปลือกโลกมหาสมุทร จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศของพื้นมหาสมุทร (bathymetry) นักธรณีวิทยาจำแนกขอบทวีปออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) และ 2) ขอบทวีปจลน์ ...