วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)

วัฏจักรอุทกวิทยา (hydrological cycle) หมายถึง วัฏจักรการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่างของเหลว ของแข็งและก๊าซ ตามสภาพแวดล้อมที่น้ำอาศัยอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำแนกได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การระเหย การระเหย (evaporation) คือ การเปลี่ยนสถานะของน้ำบนพื้นผิวโลกไปสู่บรรยากาศ ทั้งในรูปของไอน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำโดยตรง และ การคายน้ำของพืช (transpiration) โดยในส่วนของการระเหยโดยตรง น้ำจะสามารถระเหยได้ก็ต่อเมื่อความชื้นในบรรยากาศมีค่าน้อยกว่าพื้นผิวน้ำที่จะระเหย ซึ่งกระบวนการระเหยของน้ำให้กลายเป็นไอ ใช้พลังงานมากพอสมควร เช่น การละเหยน้ำ 1 กรัม ต้องใช้พลังงานความร้อนประมาณ 600 แคลอรี่ ซึ่งยิ่งมีพลังงานมากเท่าใด อัตราการระเหยของไอก็จะมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ลมที่พัดในพื้นที่ก็สามารถช่วยเร่งอัตราการระเหยของน้ำได้ด้วยเช่นกัน โดยหากพื้นที่มีลมแรงจะช่วยพัดให้ไอน้ำที่เพิ่งระเหย ย้ายออกไปที่อื่น เอื้อต่อน้ำที่พื้นผิวที่จะระเหยเข้ามาแทนที่ได้มากขึ้น ในระดับโลก การระเหยของน้ำส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในมหาสมุทรโซนกึ่งเขตร้อน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ในปริมาณสูงกว่าพื้นที่ละติจูดกลางหรือแถบขั้วโลก ก … อ่านเพิ่มเติม วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)