6 รูปแบบภัยพิบัติจากการย้ายมวล กับความเข้าใจเรื่องดินถล่ม

การย้ายมวล อาจจะเป็นคำที่ดูแปลกๆ สำหรับคนทั่วไป แต่จริงๆ แล้วคำว่า การย้ายมวล (mass wasting) เป็นคำเฉพาะในทางธรณีวิทยาที่หมายถึง การเคลื่อนตัวของหิน ดิน โคลนรวมทั้งหิมะ ลงมาตามความลาดชัน หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกกันติดปากว่า ดินถล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่โลกพยายามจะปรับสภาพพื้นผิวโลกที่สูงๆ ต่ำๆ เกลี่ยให้พื้นโลกมีระดับพอๆ กัน โดยหลายครั้งที่การย้ายมวล ก็กลายเป็นภัยพิบัติกับมนุษย์ ในทางธรณีวิทยา เมื่อพูดถึงการย้ายมวลเราจะหมายถึงการเคลื่อนที่ของมวลที่เกิดจาก แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นหลัก อาจจะมีน้ำเข้ามาช่วยหล่อลื่นบ้างแต่จะไม่โดดเด่น ส่วนการเคลื่อนที่ของมวลที่ต้องอาศัย ตัวกลาง (น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง) เป็นหลักในการเคลื่อนที่ เราเรียกว่า การพัดพา (transportation) ปัจจัยเอื้ออำนวยและสิ่งเร้า 1) ความชัน (slope) อธิบายได้ในรูปแบบของ มุมทรงตัว หรือ มุมกอง (angle of repose) ซึ่งหมายถึงมุมชันที่มวลยังสามารถเกาะตัวกันอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับขนาด รูปทรงและความเป็นเนื้อเดียวกันของมวล ตะกอนขนาดใหญ่จะมีมุมทรงตัวกว้างกว่าตะกอนขนาดเล็ก เช่น ทรายละเอียดมีมุมทรงตัว 35 องศา ทรายหยาบมีมุมทรงตัว 40 องศา และกรวดเหลี่ยมม … อ่านเพิ่มเติม 6 รูปแบบภัยพิบัติจากการย้ายมวล กับความเข้าใจเรื่องดินถล่ม