ดิน เบื้องต้น

ดิน (soil) คือ วัตถุทางธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย เศษหินและแร่ ประมาณ 45% น้ำ ประมาณ 25% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน ประมาณ 25% รวมทั้ง อินทรียวัตถุจากซากพืชซากสัตว์ อีกประมาณ 5% ซึ่งเนื้อดินโดยส่วนใหญ่จะมีความพรุนสูง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ดังนั้นด้วยคำจำกัดความ ดิน (soil) จึงแตกต่างจาก ตะกอน (sediment) ซึ่งมีองค์ประกอบเฉพาะเศษหินและแร่เป็นหลักเท่านั้น การเกิดดิน กระบวนการเกิดดินเริ่มต้นจากเศษหินและแร่ที่เป็นผลมาจากกระบวนการผุพัง เมื่อถูกฝนชะล้าง ตะกอนขนาดเล็กรวมทั้งสารละลายต่างๆ จะไหลผ่านลงไปด้านล่าง เกิดการเปลี่ยนแปลงและแยกชั้นระหว่างชั้นบนที่ถูกชะล้าง และชั้นล่างที่มีการสะสมตัวของตะกอนขนาดเล็กและสารละลายที่ไหลลง ซึ่ง Jenny (1941) ได้จำแนกปัจจัยการเกิดดินออกเป็น 5 ปัจจัย วัตถุต้นกำเนิดดิน (parent material) ได้แก่ เศษหินและแร่ที่ได้จากการผุพังอยู่กับที่ ตะกอนที่ถูกพัดพามาจากแหล่งอื่น อินทรียวัตถุ โดยวัตถุต้นกำเนิดแตกต่างกัน ทำให้เกิดดินที่แตกต่างกัน ภูมิประเทศ (topography) โดยพื้นที่ซึ่งมีความชันสูงจะมีอัตราการกัดเซาะสูงดินสูง … อ่านเพิ่มเติม ดิน เบื้องต้น