หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน

ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับสภาวะปกติของโลก เช่น แร่ควอซ์ตหรือไมกา 2) พื้นที่ผิว หินที่มีพื้นที่ผิวมากจะมีอัตราการผุพังที่สูง ดังนั้นยิ่งหินมีขนาดเล็ก อัตราการผุพังก็จะเร็วขึ้น รวมทั้งระยะเวลาที่หินโผล่บนพื้นผิวโลก ซึ่งยิ่งสัมผัสอากาศเป็นเวลานานยิ่งทำให้มีการผุพังมากขึ้นเช่นกัน 3) เนื้อหิน หินที่มีแนวรอยแตกมาก เช่น หินชนวน มีโอกาสผุพังได้ง่ายกว่าหินที่มีเนื้อมวลหนา เช่น หินปูนหรือหินอ่อน 4) ภูมิอากาศ อุณหภูมิและความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเร่งปฏิกิริยาในการผุพัง เช่น สภาพอากาศร้อนชื้นทำให้อัตราการผุพังเร็วขึ้น อีกทั้งทำให้พืชเติบโตและชอนไชตามซอกหินได้ดีขึ้น การผุพ … อ่านเพิ่มเติม หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน