4 วิธี จับพิรุธภูมิประเทศ ด้วยตัวเลข

ดัชนีธรณีสัณฐาน (geomorphic index) คือ การวิเคราะห์ ธรณีสัณฐาน (morphology) หรือ ภูมิลักษณ์ (landform) หรือ พื้นผิวโลก ในเชิงปริมาณ (ตัวเลข) โดยอาศัยข้อมูลภูมิประเทศทั้งในรูปของ ภาพถ่ายดาวเทียม (sattelite image) และข้อมูล ข้อมูลระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model, DEM) มาใช้ในการศึกษา เพื่ออธิบายการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของ เช่น 1) อัตราการผุพัง 2) ชนิดหิน หรือ 3) กระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) เช่น อัตราการยกตัวของพื้นที่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ค่าดัชนีธรณีสัณฐานจะมีค่าแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะความต้านทานของหิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน (Keller และ Pinter, 2002) เช่น หากอัตราการยกตัวอันเนื่องมาจากกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน เด่นหรือสูงกว่าอัตราการผุพัง จะแสดงลักษณะภูมิลักษณ์เป็นเขาสูง ในทางตรงข้ามอัตราการยกตัวมีน้อยกว่าการผุพัง บ่งชี้ว่าพื้นที่นั้นมีกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานต่ำหรือเป็นหินเก่า การวิเคราะห์ดัชนีธรณีสัณฐานถือเป็นการตรวจวัดระดับการแปรสัณฐานของภาพรวมในพื้นที่ ได้รวดเร็วในพื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้ข้อมูลนำเข้าที่เข้าถึงหรือหาได้ง่าย และผลที่ได้ … อ่านเพิ่มเติม 4 วิธี จับพิรุธภูมิประเทศ ด้วยตัวเลข