ขนาดแผ่นดินไหว : ความหลากหลาย และ การปรับเทียบ

ขนาดแผ่นดินไหว (earthquake magnitude) คือ ระดับพลังงานที่โลกปลดปล่อยออกมาจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในรูปของแรงสั่นสะเทือน ดังนั้นในแต่ละเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะมีขนาดแผ่นดินไหว หรือระดับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเพียงระดับเดียวเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากแรงสั่นสะเทือนที่มีอยู่หลายระดับ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเหตุการณ์นั้นๆ ว่ากันว่า คนเริ่มระแคะระคายว่าแผ่นดินไหวนั้นมี “ขนาด” ก็ในปี พ.ศ. 2474 โดยจากการสังเกตของคุณคิโยโอะ วาดาติ (Wadati K.) นักแผ่นดินไหวชาวญี่ปุ่น เขาพบว่าถ้าระยะห่างระหว่าง 1) จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และ 2) เครื่องวัดแผ่นดินไหว มีระยะห่างเท่ากัน แอมพลิจูดของคลื่นไหวสะเทือนที่วัดได้จะสูงเมื่อเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ และแอมพลิจูดจะต่ำเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเล็ก เขาจึงสรุปว่า แผ่นดินไหวนั้นมี “ขนาด” อีก 4 ปีถัดมา ในปี พ.ศ. 2478 ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Richter C.F.) นักแผ่นดินไหวชาวเยอรมัน พบว่าแม้แต่แผ่นดินไหวเหตุการณ์เดียวกัน ถ้าตรวจวัดกันคนละที่ แอมพลิจูดของคลื่นไหวสะเทือนก็จะสูงไม่เท่ากัน ดังนั้นริกเตอร์จึงสรุปว่า แรงสั่นสะเทือน (ความสูงของแอมพลิจูด) ของแผ่น … อ่านเพิ่มเติม ขนาดแผ่นดินไหว : ความหลากหลาย และ การปรับเทียบ