เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

นึกภาพตามนะครับ ถ้าเราจะวัดความเร็วของรถไฟโดยจับคนวัดไปนั่งอยู่บนรถไฟ ถามว่าผลจะออกมาแบบไหน คำตอบคือคนวัดคงนั่งงง วัดอะไรไม่ได้เลย เพราะทั้งรถทั้งคนก็วิ่งไปพร้อมๆ กันด้วยความเร็วของรถไฟ เว้นเสียแต่คนวัดจะลงจากรถไฟมานั่งนิ่งๆ มองรถไฟวิ่งผ่านหน้าไป ก็คงพอจะเดาได้ว่ารถไฟกำลังวิ่งฉึกฉักหวานเย็น หรือวิ่งฟิ้ววววแบบไม่เห็นฝุ่น ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกโดยที่เราไม่สั่นไปพร้อมกับโลก เราคงต้องลอยนิ่งๆ เหนือพื้นโลกแล้วค่อยวัด จึงจะได้ระดับการสั่นไหวของโลกที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าจะต้องลงทุนกันขนาดนั้น นักแผ่นดินไหวจึงพยายามหาทางเลือกใหม่ ที่จะวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวโดยที่ตัววัดยังคงอยู่แบบนิ่งๆ บนโลก นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีความพยายามจะจับแผ่นดินไวให้ได้หลายต่อหลายครั้ง หลายกลุ่มวิจัยพยายามคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องล่าแผ่นดินไหว โดยฉีกแนวไปหลากหลายแตกต่างกันไป พ.ศ. 2398 ลุยกิ พาลมิเอารี (Palmieri L.) สร้างเครื่องวัดแผ่นดินไหวอย่างง่ายโดยอาศัยคุณสมบัติของปรอทและกระแสไฟฟ้าเข้ามาช่วย ซึ่งสามารถตรวจวัดเวลาการมาถึงของคลื่นและขนาดของแรงสั่นสะเทือนได้ อีก 20 ปีต่อมา … อ่านเพิ่มเติม เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)