ความเงียบทางฝั่งตะวันตกของไทยจากแผ่นดินไหว : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยง

ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับแอ่งที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริเวณชายแดนภาคตะวันตกของประเทศไทย-พม่า จึงมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว (Charusiri และคณะ, 2007) อย่างไรก็ตามจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียมรวมทั้งการสำรวจธรณีวิทยาแผ่นดินไหวบ่งชี้ว่ามีรอยเลื่อนมีพลังกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เช่น รอยเลื่อนพานหลวง (Pan Luang Fault; Nutalaya และคณะ, 1985) รอยเลื่อนผาปูน (Pa Pun Fault; Nutalaya และคณะ, 1985) ในประเทศพม่า รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน-ตาก (Mae Hong Sorn-Tak Fault; ปัญญา จารุศิริ และคณะ, 2547; Wiwegwin และคณะ, 2012a; 2014) รอยเลื่อนเมย-ตองยี (Moei-Tounggyi Fault; Pailoplee และคณะ, 2009a) รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ (Sri Sawath Fault; Songmuang และคณะ, 2007; Wiwegwin และคณะ, 2012b) และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ (Three Pagoda Fault; Fenton และคณะ, 2003) ในประเทศไทย เป็นต้น โดยในแต่ละรอยเลื่อนประกอบด้วยรอยเลื่อนย่อยหลายแนวที่วางตัวต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีความยาวรอยเลื่อนประมาณ 30-115 กิโลเมตร เช่นเดียวกับแหล่งกำเนิดแผ่ … อ่านเพิ่มเติม ความเงียบทางฝั่งตะวันตกของไทยจากแผ่นดินไหว : นัยสำคัญถึงพื้นที่เสี่ยง