แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)

ในทาง แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ปัจจุบันมีแนวคิด วิธีการ หรือทฤษฎีมากมายที่ นักแผ่นดินไหว (seismologist) ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะคาดการณ์สถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง USGS (2002) ได้จัดกลุ่มวิธีต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ในแต่ละวิธีนั้นมีความพอฟังได้ น่าเชื่อถือเอาไว้ 3 กลุ่ม คือ การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะยาว (long-term earthquake forecasting) เป็นการคาดการณ์ โอกาสหรือเวลาการเกิดแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นในอีก 10-100 ปี ข้างหน้า โดยอาศัยแนวคิดที่ว่าพื้นที่ที่มีกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานเดียวกัน จะมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่คล้ายๆ กัน ในแง่ของความถี่การเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละขนาด เช่น การประเมิน ช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) หรือประคาบอุบัติซ้ำ (recurrence interval) การพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะกลาง (Intermediate-term earthquake forecasting) คือ การคาดการณ์ก่อนแผ่นดินไหวจะมาในหลักเดือน ถึงหลัก 10 ปี ส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์ด้าน แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology) โดยใช้บันทึกแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือที่เรียกว่า ฐา … อ่านเพิ่มเติม แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)