ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน กับพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันจึงเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญในภูมิภาคนี้ และเพื่อที่จะพิสูจน์ทราบความเป็นไปได้ที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในอนาคต ในพื้นที่ทางตอนใต้ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (ระหว่างหมู่เกาะนิโคบาร์-ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา) Nuannin และคณะ (2005) ศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า b จากข้อมูลแผ่นดินไหวจำนวน 624 เหตุการณ์ ในช่วงเวลา 5 ปี (ค.ศ. 2000-2004) ก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 Mw เมื่อวันที่ 26 เดือนธันวาคม ค … อ่านเพิ่มเติม ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน กับพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว