จับสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใหญ่ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว

หลักคิด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (seismicity rate change) พัฒนามาากแนวคิด เขตช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) ซึ่ง McCann และคณะ (1979) อธิบายว่า ทุกพื้นที่ย่อยของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจะมีพฤติกรรมหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากพื้นที่ย่อยใดๆ ภายในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวต่ำกว่าพื้นที่ย่อยข้างเคียงหรือไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหว นักแผ่นดินไหวประเมินว่าพื้นที่ย่อยดังกล่าวกำลังสะสมความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานและอาจเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต (McCann และคณะ, 1979) นอกจากนี้จากการศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั่วโลก เช่น แผ่นดินไหวสปีตัก (Spitak Earthquake) ขนาด 7.0 Mw ในปี ค.ศ. 1988 แผ่นดินไหวแลนเดอร์ (Lander Earthquake) ขนาด 7.5 Mw ในปี ค.ศ. 1992 และ แผ่นดินไหวฮอกไกโด-โทคาชิโอกิ (Hokkaido-Tokachi-Oki Earthquake) ขนาด 8.3 Mw ในปี ค.ศ. 1994 เป็นต้น บ่งชี้ว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ดังกล่าวประมาณ 1-6 ปี อัตราการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงจากภาวะปกติประมาณ 45-90% ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของนักแผ่นดินไหวหลายกลุ่ม (M … อ่านเพิ่มเติม จับสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใหญ่ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว