7 ตัวอย่างการนำค่า b มาศึกษานิสัยการปริแตกบนโลก

จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ดังแสดงในสมการ (1) ( Ishimoto และ Iida, 1939; Gutenberg และ Richter, 1944) กำหนดให้ NM คือ จำนวนหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวสะสม (cumulative number) ของแผ่นดินไหวที่มีขนาด ≥ M ส่วนค่า a และค่า b คือ ค่าคงที่มีค่าบวก ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลาและพื้นที่ใดๆ และเป็นตัวแปรสำคัญที่สื่อถึง พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว (earthquake activity) หากวิเคราะห์จากข้อมูลแผ่นดินไหวในพื้นที่กว้างและช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวที่ยาวนาน นักแผ่นดินไหวพบว่าสมการความสัมพันธ์ FMD จะแสดงผลของค่า b = 1.0 โดยประมาณ (Frolich และ Davis, 1993) แต่จากการศึกษาในเวลาต่อมา เช่น Wiemer และคณะ (1998) และ Gerstenberger และคณะ (2001) พบว่าหากกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาเล็กลงและกำหนดช่วงเวลาของข้อมูลแผ่นดินไหวสั้นลง ค่า b จะมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันทั้งในเ … อ่านเพิ่มเติม 7 ตัวอย่างการนำค่า b มาศึกษานิสัยการปริแตกบนโลก