“ธรณีแอ่นตัว” ทฤษฏีที่ดับมอดลง หลังการมาถึงของ “ธรณีแปรสัณฐาน”

ในอดีตหลังจากที่นักสำรวจและนักธรณีวิทยาค้นพบพื้นที่ต่างๆ ของโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เกิดข้อสงสัยจำนวนมากเกี่ยวกับการกระจายตัวของภูมิประเทศและหินชนิดต่างๆ ที่พบในแต่ละพื้นที่ โดยนักธรณีวิทยาเชื่อว่าความแตกต่างของหินและภูมิประเทศดังกล่าว น่าจะเกิดจากกระบวนการหรือกิจกรรมบางอย่างของโลก และมีความพยายามที่จะอธิบายการมีอยู่ของหินต่างๆ และการเกิดภูมิประเทศที่หลากหลาย ในแต่ละพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เป็นทฤษฏีเริ่มแรก ที่นักธรณีวิทยาพยายามจะปักธงและตั้งแนวคิดขึ้น เพื่อใช้ในการให้เหตุให้ผลแก่หินและภูมิประเทศที่พบในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งกว่าจะเกิดทฤษฏีนี้ได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมมือของนักธรณีวิทยาที่เห็นพ้องต้องกันหลายๆ คน ลองไปดูกันครับว่านักธรณีวิทยาแต่ละคนเขาคิดอะไรกันยังไง ฮอลล์ และ ดาน่า : จุดประกายแนวคิด ในปี พ.ศ. 2402 ฮอลล์ (Hall J.) และ ดาน่า (DANA J.D.) 2 นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอ ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เพื่ออธิบายการกระจายตัวของหินชนิดต่างๆ โดยดาน่าศึกษาชั้นหินตะกอนคดโค้งที่พบในพื้นที่ เทือกเขาแอปพาเลเชียน (Appalachian) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประ … อ่านเพิ่มเติม “ธรณีแอ่นตัว” ทฤษฏีที่ดับมอดลง หลังการมาถึงของ “ธรณีแปรสัณฐาน”