
ถ้ำต่างๆ cave กับ shelter อีสาน ไม่เหมือนกัน database ถ้ำ
การเกิดถ้ำ
ถ้ำ (cave) หรือ ถ้ำหินปูน (limestone cave) เกิดจากการกัดกร่อนของ น้ำใต้ดิน (groundwater) ในขณะที่หินปูนอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่น้ำใต้ดินจะมีคุณสมบัติเป็นกรดเจือจาง เนื่องจากฝนชะล้าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอากาศกลายเป็นกรดคาร์บอนิก หรือ ฝนกรด (acid rain) และซึมผ่านลงใต้ดิน ซึ่งในธรรมชาติ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การปะทุของภูเขาไฟ การหายใจของพืช ตลอดจนการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยแบคทีเรีย นอกจากนี้กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ก็สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการทำเหมือง ฯลฯ
ฝนกรด (acid rain) เมื่อทำปฏิกิริยากับหินปูน ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่อยู่ใต้ดิน ทำให้หินปูนเกิดการผุพังทางเคมี (chemical weathering) กลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (Ca(HCO3) 2) เรียกว่า กระบวนการคาร์บอเนชัน (carbonation)
CaCO3 + H2O + CO2 → Ca (HCO3) 2
แคลเซียมคาร์บอเนต + น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์ → แคลเซียมไบคาร์บอเนต
เพิ่มเติม : หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน


หลังจากนั้นแคลเซียมไบคาร์บอเนต ที่ได้จากกระบวนการคาร์บอเนชัน สามารถละลายและถูกชะล้างออกได้ด้วยน้ำใต้ดิน ส่งผลให้เกิดโพรงหรือถ้ำอยู่ใต้ดิน และมีการสะสมตัวของหินปูนใหม่กลายเป็น ตะกอนถ้ำ (speleothem)
ตะกอนถ้ำ (speleothem) หมายถึง รูปลักษณ์ภายในถ้ำที่เกิดจากกระบวนการผุพังและสะสมตัวทางเคมีของสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งมีมากในหินปูน หรือ หินโดโลไมต์ ปัจจุบันคนในวงการถ้ำ มองและจำแนกตะกอนถ้ำไว้หลายประเภท แต่ที่เราคุ้นหูชินตากันมากที่สุดก็คือหินงอก (stalagmite) ซึ่งงอกหรือพอกพูนขึ้นมาจากพื้นถ้ำ และ หินย้อย (stalactite) ที่ย้อยตัวลงมาจากเพดานหรือผนังถ้ำ

ถ้ำ (cave) vs เพิงผา (shelter)
เพิ่มเติม : ถ้ำ และ ภูมิประเทศแบบคาสต์
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth