สำรวจ

ทะเลแหวก – ธรณีวิทยาพาเที่ยว EP. 26

สันหลังมังกร หรือ ทะเลแหวก คือ สันทราย ชายหาด

สันหลังมังกรตันหยงโป เกาะสามกลาง ต. ตำมะลัง อ. เมืองสตูล จ. สตูล https://goo.gl/maps/2kzvCAk9haVfmEzH8

ประวัติ เมื่อประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ได้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงได้กลายเป็นหินกรวดสีแดงอยู่ภายในหมู่บ้านบากันใหญ่ ที่ค้นพบโดยกรมทรัพยากรธรณีค่ะ ในช่วงน้ำลงผืนกรวดสีแดงนั้นจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเหนือผืนน้ำ โดยส่วนหัวจะขนาบกับบนเกาะของชาวบ้าน ส่วนหางจะคดเคี้ยวไปตามน้ำเป็นแนวยาวยื่นลงไปในทะเล หาดสันหลังมังกร นี้ จะเห็นได้เฉพาะตอนน้ำลงเท่านั้น

สันหลังมังกรตันหยงโป เกาะสามกลาง ต. ตำมะลัง อ. เมืองสตูล จ. สตูล

ทะเลแหวก เกาะมันใน ต. กร่ำ อ. แกลง จ. ระยอง https://goo.gl/maps/h5cJsr7wwnrJiSaa9

ทะเลแหวก เกาะมันใน ต. กร่ำ อ. แกลง จ. ระยอง (ที่มา : www.twitter.com @previewii)

สันหลังมังกร (เทียม) เกาะลอย ต. ศรีราชา อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี https://goo.gl/maps/NxsvcdCBf8jAzLWa6

ธรณีวิทยาน่าเล่า

กระบวนการสุดท้ายและท้ายที่สุด เพราะแนวตื้นเขินของหินเก่า บวกกับเศษปะการังที่เกิด-ตาย ทับถมกัน ทำให้แนวเศษหินโสโครกทางธรณีวิทยาหรือ ฐานสะพานพระรามตามความเชื่อ จึงอยู่หมิ่นเหม่ ปริ่มน้ำสุดๆ มีศักดิ์ศรีเหมือนกับพื้นที่ริมทะเล กระบวนการที่เกิดตามมาจึงเป็นหน้าที่ของกระแสคลื่นทะเลริมฝั่ง ที่เรียกว่า กระแสคลื่นขนานฝั่ง (longshore current)ซึ่งก็คือ คลื่นน้ำที่เคลื่อนที่เป็นมุมกับชายฝั่ง (หรือแนวสะพานพระรามในเรื่องนี้) ทำให้คลื่นซัดหาดขึ้น-ลงในแนวเฉียงไปด้านข้างเป็นระรอก และด้วยการกลับไป-มาของคลื่น ทำให้คลื่นหอบเม็ดทรายเลื่อนออกไปด้านข้าง ขนานไปกับชายฝั่งเป็นระยะ (longshore drift หรือ littoral drift) ค่อยๆ กระดืบตะกอนทรายมาแปะแล้วปั้นไว้เป็นแนวๆ ทับถมอยู่บนแนวปะการัง กลายเป็นสะพานพระรามหรือในทาง ธรณีวิทยาชายฝั่ง (coastal geology) เรียกว่า สันทรายเชื่อมเกาะ (tombolo)

กระแสคลื่นขนานฝั่ง รัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
การ์ตูนแสดงตัวอย่างวิวัฒนาการการสร้าง สันทรายเชื่อมเกาะ (tombolo) อันเนื่องมาจาก กระแสคลื่นขนานฝั่ง (longshore current) ขนาดย่อมๆ ในพื้นที่ ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันกับที่สร้างสะพานพระราม
สันทรายเชื่อมเกาะ (tombolo)

ทะเลแหวก อินเดีย – ศรีลังกา

สะพานพระราม (Rama’s Bridge) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า สะพานอดัม (Adam’s Bridge) เป็น ภูมิลักษณ์ (landform) ทางทะเล ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเหมือนแนวสันทรายที่ทอดยาว เชื่อมระหว่าง 1) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แผ่นดินใหญ่ และเกาะยักษ์ที่ห่างออกไปอย่าง 2) ประเทศศรีลังกา หากมองมุมสูงจากภาพถ่ายดาวเทียม จะดูเหมือนเป็นแนวถนนแคบๆ ยาวประมาณ 30 กิโลเมตร และก้ำๆ กึ่งๆ เหมือนจะสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรไป-มาได้ ระหว่างศรีลังกา-อินเดีย

(ก) ตำแหน่งสะพานพระราม จากภาพถ่ายดาวเทียม (ข) ภาพมุมสูง สะพานพระราม ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศอินเดียและศรีลังกา

หากมองใกล้ๆ ในพื้นที่ จะพบว่าสะพานพระรามมีฐานเป็นเศษปะการังก้อนเล็กๆ ใหญ่ๆ ทับถมและปะปนอยู่กับแนวสันทรายที่ทอดตัวยาวปริ่มน้ำ โดยตามตำนานหรือคติความเชื่อของคนในพื้นที่เชื่อว่า ถนนหรือสะพานพระรามแห่งนี้ เกิดจากการที่ พระราม สั่งให้ หนุมานและเหล่ากองทัพวานร ช่วยกันขนหินขนทราย มาถมทะเลให้เป็นสะพาน เพราะท่านอยากจะข้ามจากอินเดียแผ่นดินใหญ่ ไปกรุงลงกา (ศรีลังกา) เพื่อที่จะชิงตัวนางสีดา ภรรยาสุดที่รัก คืนมาจากทศกันต์

ตำนานเค้าว่างั้น

เรื่องราวของตำนานการสร้างสะพานพระราม คนในพื้นที่จะเชื่อจริงหรือไม่ อันนี้ไม่แน่ใจ แต่แค่มองภาพจากระยะไกล นักธรณีวิทยาก็รู้ว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเมื่อนำหลักการทางธรณีวิทยาเข้ามาอธิบาย สะพานพระรามเกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้ก็เนื่องมาจาก 3 ลำดับเหตุการณ์ ทางธรณี

เพิ่มเติม : ธรณีวิทยา สะพานพระราม

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: