
บึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ด ต. พระนอน อ. เมืองนครสวรรค์ จ. นครสวรรค์
https://goo.gl/maps/UcT9khQicG2GDFURA
อีกหนึ่งหลักฐานที่พอจะนำมารวม ประกอบการสร้างแนวการวางตัวของรอยเลื่อนแม่ปิงก็คือ รูปร่างของบึงบอระเพ็ด แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่อันโด่งดังในจังหวัดนครสวรรค์ เพราะถ้าสังเกตุให้ดีจะพบว่าบึงบอระเพ็ดทางตอนใต้มีการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถยิงแนวไปตรงกับแนวเส้นตรงของแม่น้ำปิง ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ และจากภูมิประเทศใต้น้ำของบึงบรเพชร ที่ทางตอนเหนือที่ตื้น และค่อยๆ ลาดมาลงใต้ มีขอบด้านใต้สุดที่ลึกและคมดิ่ง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า แนวเส้นตรงของบึงบอระเพ็ดทางตอนใต้ น่าจะถูกควบคุมแนวการวางตัวด้วยรอยเลื่อนแม่ปิง และในทางภูมิลักษณ์ที่บ่งชี้รอยเลื่อน บึงบอระเพ็ดก็มีศักดิ์ทัดเทียมได้กับ หนองน้ำยุบตัว (sag pond) เหมือนกับที่มีใน รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ทางตอนใต้ของเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา


เพิ่มเติม : ภูมิประเทศบ่งชี้ “รอยเลื่อน”
เพิ่มเติม : ล่อง (รอยเลื่อน) แม่ปิง
ทะเลสาบเชียงแสน – หนองหล่ม
ทะเลสาบเชียงแสน ต. โยนก อ. เชียงแสน จ. เชียงราย
https://goo.gl/maps/NcdsLSHmTdGHzaCu8
ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องแปลความทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับตํานานเวียงหนองหล่ม นักธรณีวิทยาก็คงจะต้องสรุปไปในแนวทางที่ว่า เมื่อเวลา แรม 7 ค่ำ เดือนห้า จ.ศ. 376 ปีเถาะ (พ.ศ. 1557) เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้น ในพื้นที่แถบอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งก็น่าจะเกิดจาก กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน (Mae Chan Fault Zone) (เส้นสีขาวพาดยาวจากขวาบนลงมาซ้ายล่างในแผนที่) ซึ่งจริงๆ แล้วหากดูภูมิประเทศตามหลักทางธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ความคมชัดของแนวรอยเลื่อนก็บ่งชัดว่ารอยเลื่อนนี้ไม่ใช่ธรรมดา และสามารถสร้างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ และก็อีกนั่นแหละ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนั้นก็น่าจะใหญ่อยู่พอสมควร ใหญ่พอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ แบบยุบตัวกลายเป็นแอ่งเป็นหนอง ที่เรียกในทางธรณีวิทยาว่า หนองน้ำยุบตัว (sag pond)

เพิ่มเติม : จากตำนาน “เวียงหนองหล่ม” สู่การตีความด้านแผ่นดินไหว
หนองหาน
หนองหาร ต. งิ้วด่อน อ. เมืองสกลนคร จ. สกลนคร
https://goo.gl/maps/PMF6Gd9eiVreKyQG9
หนองหาน กุมภวาปี ต. เชียงแหว อ. กุมภวาปี จ. อุดรธานี
https://goo.gl/maps/cppHvqjDi1DupipP7

กำเนิด เนิน-โนน-โพน-โคก
ด้วยความที่อีสานมี แม่น้ำโค้งตวัด (meandering stream) ที่เด่นชัด (มูล-ชี-สงคราม) หลายพื้นที่จึงเป็น ที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplain) แต่หากสังเกตดูดีๆ จะพบว่า ที่ราบมักจะถูกแทรกแซง ถูกแทงขึ้นมาด้วย เนินดิน (mound) หรือที่เรียกกันในภาษาถิ่นว่า เนิน โนน โพน โคก ฯลฯ ซึ่งมักจะถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งชุมชนมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปัจจุบันมีการสำรวจและรายงานเนินดินในภาคอีสานที่สัมพันธ์กับชุมชนโบราณมากกว่า 297 เนิน หรือ ชุมชน (Reilly และ Scott, 2015)

เพิ่มเติม : เนินดินอีสาน กับการตั้งถิ่นฐานในอดีต

เนื่องด้วยชั้นหินส่วนใหญ่ในภาคอีสานที่เป็น หินทราย (sandstone) หินทรายแป้ง (siltstone) และ หินดินดาน (shale) มี หมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) เพียงหมวดเดียวที่เป็น หินเกลือ (rock salt)ผนวกกับชุดความรู้ทางธรณีวิทยา สรุปว่า เหตุผลเดียวที่จะทำให้เกิดเนินดินในภาคอีสานได้คือ การผุดขึ้นมาของมวลเกลือจนกลายเป็นโดม หรือที่เรียกกันในทางธรณีวิทยาว่า โดมเกลือ (salt dome)
โดยธรรมชาติ มวลเกลือสามารถเปลี่ยนรูปได้ จากน้ำหนักกดทับของหินด้านบนที่มีไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ จุดหรือตำแหน่งที่มีแรงกดทับสูง จะกดมวลเกลือลงไปข้างใต้ แรงดันทำให้มวลเกลือเปลี่ยนรูป และผุดผุยขึ้นมาตามจุดหรือตำแหน่งที่มีแรงกดทับต่ำ ทำให้เกิด 1) โดมเกลือ (salt dome) ในทางธรณีวิทยา หรือ 2) เนินดิน (mound) ในทางภูมิศาสตร์ หรือ 3) เนิน โนน โพน โคก ในทางภูมินาม (รูป ก-ข) โดยลีลาการผุดขึ้นมาของมวลเกลือ นักธรณีวิทยาสรุปได้ 6 ประเภท (รูป ค) ลูกศรสีดำแสดงแรงหรือน้ำหนักกดทับชั้นเกลือ ลูกศรสีขาวแสดงการตอบสนองของมวลเกลือต่อแรงกดทับ ที่จะทำให้มวลเกลือแสดงอาการผุดผุย หรือแทรกดันขึ้นมาบนพื้นดิน
เพิ่มเติม : เกลือ 7 แบบ : หลากสี หลายรส

ธรณีวิทยา หนองหาร
เมื่อมวลเกลือถูกดันขึ้นมาใกล้พื้นโลก มวลเกลือจะมีโอกาสสูง ที่จะถูกชะล้างและละลายไปกับกลไกการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลง พื้นที่ใต้ดินแถบนั้น จะกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน เช่นเดียวกับกระบวนการเกิดถ้ำหรือโพรงใต้ดินในแถบเทือกเขาหินปูน อันเนื่องมาจากน้ำใต้ดินชะล้างและละลายหินปูนออกไป ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลง พื้นที่แถบนั้นก็จะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิด หลุมยุบ (sinkhole) อันเนื่องมาจากการถล่มของโพรงใต้ดิน และในกรณีโดมเกลือก็เช่นเดียวกัน


เพิ่มเติม : ถ้ำ และ ภูมิประเทศแบบคาสต์
หากสังเกตอย่างถี่ถ้วนทั่วพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม (Google Earth) จะพบว่ามีบึงหรือหนองน้ำธรรมชาติจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่ รวมถึงหนองหาน จังหวัดสกลนคร ตัวละครหลักของเรื่องนี้ ซึ่งหากแปลความในมุมมองทางธรณี หนองน้ำเหล่านี้ก็คือ หลุมยุบ (sinkhole) ที่เกิดจากการถล่มและทรุดตัวของโพรงใต้โดมเกลือในอดีต
สรุป ความสัมพันธ์ทางธรณีวิทยา กับตำนาน ผาแดง-นางไอ่ได้ว่า เหล่าสมุนพญานาค ทีมงานของพ่อเท้าภังคี ก็เปรียบได้กับ โพรงหรือถ้ำใต้ดิน ที่เกิดจากการละลายของโดมเกลือ ส่วนตัวละคร กระฮอกด่อน หรือ กระรอกเผือก ก็น่าจะเป็นตัวแทน สีขาวของเกลือ อันเป็นปฐมเหตุของตำนานเรื่องนี้ และในวันที่เมืองหนองหานถูกพญานาคถล่มยับ ก็คงจะเป็นวันที่เกิด ภัยพิบัติหลุมยุบ (sinkhole hazard) ในทางธรณีวิทยา ส่วน ท้าวผาแดง และ นางไอ่ ก็ไม่รู้จะให้เป็นอะไรในวงนี้ เพราะได้ข่าวว่า ควบม้าชิ่งหนีไปไกลแล้ว
เพิ่มเติม : ธรณีวิทยา ผาแดง – นางไอ่
คำชะโนด
คำชะโนด วังนาคินทร์ ต. บ้านม่วง อ. บ้านดุง จ. อุดรธานี
https://goo.gl/maps/nB7DPm9SNXUss91e6
เพิ่มเติม : “คำชะโนด” ในมุมวิทยาศาสตร์
การเกิดคำชะโนด
ในอีกมุมหนึ่งทางวิทยาศาสตร์หรือทางกายภาพ คำชะโนดเกิดจาก กอวัชพืช (floating mat) หรือซากวัชพืชน้ำจำนวนมากที่เจริญเติบโตเกิดขึ้นภายในหนองน้ำ ซึ่งต่อมากระแสลมผิวน้ำได้พัดวัชพืชไปกองรวมกันที่ริมฝั่งด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปรากวัชพืชดังกล่าวพัวพัน เกี่ยวก้อยผสานกันเป็นกอ เกิดเป็นเกาะวัชพืช ซึ่งสังเกตได้จากถ้าลองเข้าไปในพื้นที่ เวลาเหยียบพื้นที่จะยวบๆ โดยซากวัชพืชเกิด-ตาย ทับถมกันเป็นชั้นหนาขึ้นตามเวลา เกิดการหมักและเกิดก๊าซมีเทน ซึ่งหากใครเคยเข้าพื้นที่ ดมดีๆ จะได้กลิ่น

จากการประสานนักประดาน้ำในท้องถิ่นเพื่อดำลงไปพิสูจน์พื้นที่ใต้เกาะคำชะโนด ผลจากการดำน้ำพบว่าใต้เกาะคำชะโนดมีรากวัชพืชจำนวนมากประสานกันอย่างยุ่งเหยิงและดูเหมือนว่ากลุ่มร่างดังกล่าวไม่ได้เกาะหรือยึดติดกับพื้นดินของน้องน้ำ นั่นแสดงว่าป่าคำชะโนดไม่ใช่เกาะแต่เป็นกอวัชพืชขนาดใหญ่ที่อยู่ในหนองน้ำ
และจากการสืบค้นเชิงเอกสารทางวิชาการพบว่าลักษณะการเกิดก็วัชพืชขนาดใหญ่หรือเกาะวัชพืชแบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั้งในละแวกใกล้เคียงกับป่าคำชะโนด และในพื้นที่ต่างประเทศก็มีเกาะประมาณนี้ ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่


ดังนั้นโดยสรุปในมุมวิทยาศาสตร์ ป่าคำชะโนด คือ กอวัชพืชขนาดใหญ่กลางบึงหรือหนองน้ำที่มักพบเห็นโดยทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ และก็ไม่แปลกที่เวลาน้ำท่วม กอวัชพืชเหล่านี้จะลอยเหนือน้ำ เพราะรากไม่ได้ยึดเกาะกับพื้นดินเอาไว้
กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา ต. บ้านสาง อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา
https://goo.gl/maps/mqFfxSzJ3orCdjpL6
บึงโขงหลง
บึงโขงหลง เจ้าปู่อือลือนาคราช เกาะดอนโพธิ์ ต. บึงโขงหลง อ. บึงโขงหลง จ. บึงกาฬ
https://goo.gl/maps/TkSdFyVHkZo5DPpv7
ทะเลน้อย
ทะเลน้อย อ. ควนขนุน จ. พัทลุง
https://goo.gl/maps/aHbKtBVuur5TPYbs9
ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลา จ. สงขลา
https://goo.gl/maps/QAwE2gKFTiodG75e7
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth