
ภูกระดึง
ผานกแอ่น ต. ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย https://goo.gl/maps/1XvzxrYvcTKE3Jsw7



เพิ่มเติม : ชุดข้อมูลภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง (ไฟล์ Google Earth .kmz) ชุดข้อมูลเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัย และกิจการด้านการอนุรักษ์ของอุทยาน https://drive.google.com/drive/folders/16O3DE9Ftn3amsw7mPenw4El_AXby_tRK
ภูผาจิต
ภูผาจิต ต. ทุ่งพระ อ. คอนสาร จ. ชัยภูมิ https://goo.gl/maps/1HV8nMRDUA1acnGE6

ภูป่าเปาะ
ภูป่าเปาะ จุดชมวิว ภูหอ ฟูจิเมืองเลย ต. ปวนพุ อ. หนองหิน จ. เลย https://goo.gl/maps/zgVAFibKCbVpU8oJ8



ตาดโตน
อุทยานแห่งชาติตาดโตน ต. นาฝาย อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ https://goo.gl/maps/bs9xKyqVdSnbC3K59
พนมกุเลน
น้ำตกพนมกุเลน กัมพูชา https://goo.gl/maps/zvWjqEkoAcPpHk35A
ธรณีวิทยาน่าเล่า
การกัดกร่อนโดยน้ำ
ถึงแม้ว่าในทะเลทรายนั้นจะมีฝนตกน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ แต่เนื่องจากทะเลทรายนั้นไม่มีพืชคลุมดิน ทำให้ฝนที่ตกลงมานั้นไหลหลากอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงกับตะกอนทุกขนาด ซึ่งหลังจากน้ำซึมลงไปใต้ดิน จะยังคงสภาพการไหลของตะกอนคล้ายกับธารน้ำแต่อยู่ในสภาพที่แห้งแล้ง (dry wash) ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียก อาโรยอส (arroyo) แอฟริกาตอนเหนือเรียก วาดิ (Wadi) อเมริกาใต้เรียก ดองก้า (Donga) ส่วนอินเดียเรียก นุลลาห์ (Nullah)

นอกจากนี้ในกรณีของพื้นที่เดิมเป็นที่ราบสูง และชั้นหินด้านบนเป็นหินที่ทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าชั้นหินด้านล่าง เมื่อเกิดการกัดเซาะจากน้ำ ทำให้เกิดเป็นภูเขายอดราบหลากหลายขนาด เช่น เนินเมซา (mesa) เนินยอดป้าน (butte) และแท่งหินสูงเรียว (pinnacle) เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศแบบนี้พบได้บริเวณรัฐยูทาห์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา


เพิ่มเติม : การกัดกร่อนในทะเลทราย
กฏการต่อเนื่องของบรรพชีวิน
กฏการต่อเนื่องของบรรพชีวิน (law of faunal succession) สืบเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สังเกตและพบว่าฟอสซิลที่เกิดในชั้นหินต่างๆ นั้น มีรูปร่างและสายพันธุ์แตกต่างกันไป ถึงแม้ว่าชั้นหินดังกล่าวจะวางซ้อนกันอยู่ ดังนั้น วิลเลียม สมิธ (Smith W.) จึงนำเสนอว่า ชั้นตะกอนที่มีฟอสซิลชนิดเดียวกัน สามารถเทียบเคียงได้ว่าเป็นชั้นตะกอนที่มีอายุในช่วงเดียวกัน

นอกจากนี้ วิลเลียม สมิธ ยังได้จำแนกชั้นหินที่มีอายุใกล้เคียงกัน โดยอาศัยหลักการของ การพบฟอสซิลเป็นครั้งแรกและการหายไปของฟอสซิลในแต่ละชนิด เป็นตัวแบ่งชั้นหิน ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถลำดับชั้นตะกอนแลชั้นหินจากความแตกต่างของกลุ่มฟอสซิลได้

เพิ่มเติม : กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth