6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา

หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ประกอบด้วยหินอัคนีและหินแปรในยุคเก่า (โดยส่วนใหญ่มีอายุหินมากกว่า 1,000 ล้านปี) และมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน แต่ไม่พบกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานในยุคปัจจุบัน ทั้งภูเขาไฟและแผ่นดินไหว เช่น หินฐานทวีปในประเทศคนนาดา 2) ลานเสถียร (stable platform) หมายถึง หินฐานทวีปที่ถูกปกคลุมด้วยหินตะกอนในยุคเก่าที่ไม่ถูกแปรสภาพ โดยทั้งหินฐานธรณีและลานเสถียร สามารถเรียกรวมกันได้ว่า หินฐานธรณี (craton) 3) เทือกเขา (mountain belt) หมายถึง พื้นที่หรือโซนแคบและยาวที่หนาแน่นไปด้วยโครงสร้างอันเกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน ทำให้เกิดการแปรสภาพหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ 1) เทือกเขาอายุแก่ (old mountain belt) คือ สภาพของภูเขาเดิมที่มีอายุแก่กว่า 100 ล้านปี เช่น เทือกเขาแอปพาเลเชียน (Appalach … อ่านเพิ่มเติม 6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา