ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ หรือบางครั้งอาจจะบอกถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลานั้นด้วย ฟอสซิลดัชนี (fossil index) คือ ซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยแพร่กระจายอยู่โดยทั่วไปหรือทั่วโลก แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ และสูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น ซึ่งการที่พบฟอสซิลดัชนีในชั้นหินที่อยู่ต่างพื้นที่กัน นักวิทยาศาสตร์สามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบฟอสซิลดัชนีดังกล่าวมีอายุในช่วงเดียวกัน กระบวนการเกิดฟอสซิล (Fossilization) 1) ส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต (hard part) เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลงโครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะดอง กะโหลก จะถูกทับถมอย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่ง … อ่านเพิ่มเติม ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล