กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก
เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างน้อย 8 หลักการ ดังนี้ 1) กฏความเป็นเอกภาพ กฏความเป็นเอกภาพ (law of uniformitarianism) นำเสนอโดย เจมส์ ฮัตตัน (Hutton J.) โดยให้หลักคิดว่า ปัจจุบัน เป็นกุญแจสำคัญไปสู่ อดีต (the present is the key to the past) ซึ่งหมายถึงเราสามารถอธิบายการเกิดสิ่งต่างๆ ในอดีต ได้เช่นเดียวกับเหตุการณ์หรือกระบวนการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันได้ 2) กฏการลำดับชั้นหิน กฏการลำดับชั้นหิน (law of superposition) นำเสนอโดย นิโคลัส สเตโน (Steno N.) โดยอธิบายว่าชั้นหินตะกอนใดๆ ที่ไม่ถูกรบกวนจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดภ … อ่านเพิ่มเติม กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก
คัดลอกและวาง URL นี้ลงในเว็บ WordPressของคุณเพื่อเล่น
คัดลอกและวางโค้ดนี้ในเว็บของคุณเพื่อเล่น