การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม

จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า มีไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี (radioactive isotope) หลายชนิดที่สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยที่ทุก ๆ วิธีการการหาอายุด้วยการใช้ ไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีนั้น ใช้หลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับ การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น จะแตกต่างกันก็ตรงที่ วัสดุที่เหมาะสมในการหาอายุหรือวิธีการการคัดแยกแร่และธาตุต่าง ๆ เพื่อนำมาคำนวณการประเมินอัตราการสลายตัวเท่านั้น ซึ่งนอกจาก การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน การหาอายุด้วยวิธียูเรเนียม-ตะกั่ว การหาอายุด้วยวิธีอาร์กอน-อาร์กอน อีกหนึ่งวิธีในการกำหนดอายุจากไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีที่น่าสนใจ คือ การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม (Sr-Rb dating) ในธรรมชาติ ธาตุรูบิเดียม (Rubidium, Sr) มีปรากฏอยู่ 2 ไอโซโทป คือ 87Rb และ 85Rb ซึ่งในกรณี 85Rb จัดเป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มของธาตุเสถียร ในขณะที่ 87Rb เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มี ค่าครึ่งชีวิต (half life) อยู่ที่ 48,800 ล้านปี โดยจากหลักการที่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป ไอโซโทปของธาตุ 87Rb จะสลายตัวอย่างต่อเนื่องให้ อนุภาคเบตา และ … อ่านเพิ่มเติม การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม