ธรณีกาล : กาลเวลาทางธรณีวิทยา

ธรณีกาล (geological time scale) คือ การแบ่งย่อยเหตุการณ์หรืออายุทางธรณีวิทยาตามช่วงเวลาต่างๆ โดยนักธรณีวิทยาได้จำแนกและจัดหมวดหมู่กาลเวลาตลอดอายุขัยของโลกออกเป็นช่วงๆ ตามหน่วยเวลาย่อยๆ ดังนี้ 1) บรมยุค (Eon) บรมยุค (eon) เป็นหน่วยเวลาที่ใหญ่ที่สุดในทางธรณีกาล โดยตลอดช่วงอายุ 4,600 ล้านปี ของโลก ประกอบด้วย 4 บรมยุค ได้แก่ 1) บรมยุคฮาเดียน (Hadean Eon) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 4,600-3,800 ล้านปี โดยในช่วงแรกโลกมีอุณหภูมิสูงมาก ต่อมาผิวนอกเริ่มเย็นตัว ภูเขาไฟปะทุจำนวนมาก บรรยากาศปกคลุมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไอน้ำ ที่ปล่อยออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟ 2) บรมยุคอาร์เคียน (Archean Eon) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 3,800-2,500 ล้านปี แผ่นเปลือกโลกเกิด การหลอมละลายบางส่วน (partial melting) และ การแยกลำดับส่วน (fractionation) ทำให้แร่เหล็กและแร่นิกเกิล ซึ่งมีความหนาแน่นสูงจมตัวลงไปที่แก่นโลก เกิดแมกมาที่มีสัดส่วนของแร่ซิลิกาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องบนพื้นผิวโลก 3) บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 2,500-545 ล้านปี โลกเย็นตัวลง และเกิด ยุคน้ำแข็ง (ice ag … อ่านเพิ่มเติม ธรณีกาล : กาลเวลาทางธรณีวิทยา