5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”

เศษหิน หรือ ตะกอน (sediment) หมายถึง เศษอนินทรียวัตถุทางธรรมชาติ เช่น แร่ที่ผุพังและถูกพัดพาไปสะสมตัวในพื้นที่ใดๆ ซึ่งจะแตกต่างจาก ดิน (soil) ที่มีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อินทรียวัตถุ น้ำและก๊าซต่างๆ โดยตะกอนหรือหินตะกอนมีประโยชน์อย่างมากในการแปลความสภาพแวดล้อมในอดีต ทั้งจากลักษณะการสะสมตัวและคุณสมบัติต่างๆ ของเม็ดตะกอนที่พบ ซึ่งในเบื้องต้นทาง ตะกอนวิทยา (sedimentology) ตะกอนสามารถจำแนกตามคุณสมบัติต่างๆ ได้ 5 คุณสมบัติหลัก ดังนี้ 1) ขนาด ขนาดตะกอน (grain size) ประเมินจากเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยของเม็ดตะกอน โดย Wentworth  (1922) นำเสนอหลักการจำแนกขนาดตะกอนดังแสดงในตารางด้านล่าง โดยตะกอนแต่ละขนาดก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไป ซึ่งขนาดตะกอนเป็นตัวบ่งชี้ระดับความแรงของตัวกลางในการพัดพาตะกอน เช่น ตะกอนขนาดใหญ่ใช้พลังงานสูงในการพัดพา ในขณะที่ตะกอนขนาดเล็กเกิดจากการพัดพาจากตัวกลางพลังงานต่ำอย่างเช่นน้ำไหลเอื่อยๆ เป็นต้น ขนาดตะกอน ชื่อ  > 256 มิลลิเมตร ก้อนหินมนใหญ่ (boulder) 64-256 มิลลิเมตร กรวดใหญ่ (cobble) 32-64 มิลลิเมตร กรวดหยาบมาก (very coarse gravel) 16-32 มิลลิ … อ่านเพิ่มเติม 5 หลักการ แยกแยะและแปลความการเดินทางของ “เศษหิน”