กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก

ธารน้ำแข็ง – ถ้าได้กางแผนที่ประเทศไทยดูก็จะรู้ว่า ปัจจุบันภูเก็ตและเพชรบุรีตั้งอยู่ในละติจูดประมาณ 8-10 องศาเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นละติจูดที่ต่ำมากและอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ ทำให้สภาพอากาศของทั้งภูเก็ตและเพชรบุรี ก็อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบันว่ามันร้อนแถมชื้น แต่ใครจะไปรู้ว่า ในอดีต (นานมากแล้ว) ทั้งภูเก็ตและเพชรบุรีเคยอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากขั้วโลก ซึ่งหลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ ก็ไม่ใช่ซากเพนกวิน หรือฟอสซิลแมมมอธ หมีขาวแต่อย่างใด แต่กลับเป็นหลักฐานทาง ตะกอนวิทยา (sedimentology) ที่นักธรณีวิทยาได้ใช้แปลความ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของโลกมาหลายยุคหลายสมัย หินนิรสถาน (diamictiteหรือ drop stone หรือ pebbly mudstone) คือ หินตะกอนเนื้อเม็ด ที่มี เม็ดกรวด (pebble) หลากหลายขนาด ฝังอยู่ในตะกอนส่วนใหญ่ที่มีขนาด โคลน (mud) ขนาด โคลน (mud) ขนาด โคลน (mud) ย้ำอีกที ขนาด โคลน (mud) 🙂 การเดินทางของเม็ดตะกอน โดยธรรมชาติ ตะกอนบริเวณภูเขาสูง ซึ่งเป็นต้นทางหรือต้นน้ำจะมีขนาดใหญ่ เหลี่ยมมุมมากคัดขนาดไม่ดี และเมื่อถูกพัดพาไปยังปลายน้ำตะกอนจะมีขนาดเล็กลง มีการคัดขนาดดีขึ้น แล … อ่านเพิ่มเติม กาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว ภูเก็ต . เพชรบุรี เคยอยู่ใกล้ขั้วโลก