ธารน้ำแข็งและการเกิด

ธารน้ำแข็ง (glacier) หมายถึง มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะบนแผ่นดินและเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งภายใต้สภาพอากาศหนาวเย็นเพียงพอที่จะรักษาสภาพไม่ให้น้ำแข็งละลายในฤดูร้อน ธารน้ำแข็ง (glacier) แตกต่างจากน้ำทะเลแถบขั้วโลกที่กลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งจะเรียกแตกต่างกันว่า น้ำแข็งทะเล (sea ice) และน้ำแข็งทั้งสองประเภทส่งผลกระทบต่อโลกแตกต่างกัน ธารน้ำแข็งละลายทำให้นำทะเลเปลี่ยนระดับ ส่วนน้ำแข็งทะเลละลาย ลดการสะท้อนกลับของแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก กระบวนการเกิดน้ำแข็ง (glacial formation) เริ่มจากการสะสมตัวของ เกล็ดหิมะ (snowflake) ซึ่งมีความหนาแน่นประมาณ 0.1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อมาน้ำหนักของเกร็ดหิมะด้านบนจะกดทับเกร็ดหิมะด้านล่างเกิดการอัดแน่นและหลอมละลายกลายเป็น เม็ดหิมะ (granular snow) ซึ่งเมื่อน้ำหนักกดทับเพิ่มสูงขึ้น อากาศในช่องว่างระหว่างเม็ดหิมะจะถูกบีบออก เกิดเป็น หิมะน้ำแข็ง (firn) ซึ่งมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเป็น 0.4 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร หลังจากนั้นหิมะแข็งจะเริ่มหลอมละลายและตกผลึกใหม่ กลายเป็นน้ำแข็งในธารน้ำแข็ง (glacial ice) ที่มีความหนาแน่นสูงถึง 0.9 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร … อ่านเพิ่มเติม ธารน้ำแข็งและการเกิด